CADT DPU จับมือพันธมิตร เปิดชมรมด้านการบิน หวังตั้งเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้-แหล่งหางานแห่งแรกในไทย

CADT DPU จับมือพันธมิตร เปิดชมรมด้านการบิน หวังตั้งเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้-แหล่งหางานแห่งแรกในไทยน.ต.ดร.วัฒนา
 
    น.ต.ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดีวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) หรือ DPU และในฐานะเลขาธิการชมรมสถาบันการศึกษาและบุคลากรด้านการบินประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ CADT DPU ร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาที่จัดสอนทางด้านการบิน รวมถึงองค์กรด้านการบินและบุคลากรในอุตสาหกรรมการบิน เปิดชมรม “สถาบันการศึกษาและบุคลากรด้านการบินประเทศไทย” โดยมีนายสมชาย พิพุธวัฒน์ เป็นประธานชมรม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างให้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ค้นคว้างานวิจัย และแหล่งค้นหางานด้านอุตสาหกรรมการบินแห่งแรกของไทย ซึ่งในการประชุมนัดแรกได้พูดคุยถึงประเด็นที่เป็นปัญหาในอุตสาหกรรมการบิน รวมถึงการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนของแต่ละสถาบันและการจัดหลักสูตรฝึกอบรมอบรมต่างๆ นอกจากนี้ยังมีประเด็นการหางานรองรับให้นักศึกษาจบใหม่ด้วยDSC_9037
น.ต.ดร.วัฒนา กล่าวว่า ในส่วนของภาคการศึกษา CADT DPU ได้ปรับหลักสูตร ป.ตรี เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา โดยหลักสูตรที่ปรับส่วนใหญ่จะสอดรับกับมาตรการของอุตสาหกรรมการบินที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น การให้บริการบนเครื่องบินต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้านการบินและเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุข นอกจากนี้สถาบันการบิน มธบ. (DPU Aviation Academy : DAA) ยังได้จัดทำหลักสูตรเพิ่มเติมตามความต้องการของบุคลากรในอุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ได้รับอนุมัติให้จัดหลักสูตรอย่างเป็นทางการจาก The International Air Transport Association (IATA) จำนวน 4 หลักสูตร คือ 1.การบริการบนเครื่องบิน 2.การปฏิบัติการในท่าอากาศยาน 3.ความปลอดภัยทางด้านการบินและ4.ความตระหนักเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน ซึ่งทั้ง 4 หลักสูตรจะจัดอบรมและเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนก่อนสอบ และจัดสอบเพื่อให้ได้ใบรับรองผ่านการอบรมหรือใบประกาศนียบัตร (Certificate) จาก IATADSC_9142
     น.ต.ดร.วัฒนา กล่าวด้วยว่า 2 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานทางด้านการบินได้รับผลกระทบ รวมไปถึงภาคการศึกษาก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากผู้ปกครองอาจขาดความเชื่อมั่นในสายอาชีพนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการบินและการขนส่งผู้โดยสาร ที่เชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้โดยรอบ จึงมั่นใจว่าธุรกิจการบินจะฟื้นตัวเร็วๆนี้แน่นอน นอกจากนี้ IATA ยังได้พยากรณ์ไว้ว่าธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมการบินจะกลับมาคึกคักในปี 2567 ช่วงเวลานั้นความต้องการแรงงานน่าจะมีมากขึ้น

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERAที่สำคัญโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี (Easter Economic Corridor : EEC) ได้มีโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ให้เป็นเมืองการบินและเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบิน ซึ่งในอนาคตอาจเป็นศูนย์ซ่อมแห่งอาเซียน จึงทำให้ธุรกิจทุกภาคส่วนรวมอยู่ในสนามบินดังกล่าวและบริเวณใกล้เคียง ส่วนการเปิดให้บริการคาดว่าจะมีขึ้นในปี 2568 ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักศึกษาจบใหม่ เพราะมีตำแหน่งงานที่ต้องการกว่า 3,000 ตำแหน่ง

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

น.ต.ดร.วัฒนา กล่าวทิ้งท้ายว่า ภาคแรงงานในอุตสาหกรรมการบิน นอกจากตำแหน่งงานหลักๆที่เป็นที่รู้จักแล้ว อาทิ นักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ เป็นต้น ยังมีตำแหน่งงานอีกมากมายที่หลายท่านอาจยังไม่ทราบ ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ TPQI ได้กำหนดคุณวุฒิวิชาชีพทางด้านการบิน จำนวน 53 สาขาอาชีพ เช่น สาขาบริการภาคพื้นและสนับสนุนการบินภาคพื้นในอาคาร สาขางานเทคนิคและฝึกอบรมอาชีพผู้ฝึกด้านระบบการจัดการความปลอดภัย พนักงานสำรองบัตรโดยสาร เป็นต้น     อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งงานกว่า 2 ล้าน 2 แสน ตำแหน่ง ทั้ง Direct และ Indirect ที่ถูกเลิกจ้างไปในช่วงสถานการณ์โควิด เชื่อว่าเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ คนกลุ่มนั้นบางส่วนจะเปลี่ยนอาชีพและไม่กลับมาทำงานด้านการบิน ดังนั้นตำแหน่งงานว่างที่เหลือจะเป็นของนักศึกษารุ่นใหม่ที่จบออกไป จึงมั่นใจในอีก 4 ปีข้างหน้านักศึกษากลุ่มนี้จะมีงานรองรับอย่างแน่นอน

 

 

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »