วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหารรายการ Heavy metals (Ba, Co, Cu, Fe, Ge, Li, Mn, Sb, Zn) in Food Simulant (ASEAN PROGRAM)
วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหารรายการ Heavy metals (Ba, Co, Cu, Fe, Ge, Li, Mn, Sb, Zn) in Food Simulant (ASEAN PROGRAM)
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (บท.) จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043 ได้ดำเนินการจัดส่งตัวอย่างให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมฯ ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 21 ห้องปฏิบัติการ และเป็นห้องปฏิบัติการต่างประเทศ จำนวน 8 ห้องปฏิบัติการ เพื่อดำเนินการทดสอบในรายการ Heavy metals (Ba, Co, Cu, Fe, Ge, Li, Mn, Sb, Zn) in Food Simulant (ASEAN PROGRAM) และกำหนดให้ส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ภายในวันที่ 9 มิถุนายน 2566 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป รายการ Heavy metals in Food Simulant เป็นการทดสอบเพื่อหาการปนเปื้อนของสารพิษหลายชนิดในอาหาร โดยเฉพาะโลหะหนักในอาหารต่างๆ สัตว์ทะเลหลายชนิดมีความสามารถในการสะสมโลหะหนักที่เป็นพิษโดยเฉพาะปรอทที่มักพบในหอย กุ้ง และปลา นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของเชื้อโรคชนิดต่างๆ เช่น เชื้อโรควัวบ้า เชื้อรา และแบคทีเรีย เป็นต้น ดังนั้นในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยจึงมีมาตรการกําหนดปริมาณสารปนเปื้อนและโลหะหนักในอาหาร (เช่น Sn 250 mg/kg, Zn 100 mg/kg, Cu 20 mg/kg, Pb 1 mg/kg, Cd 2 mg/kg, และ Hg 0.02 mg/kg) ซึ่งจะทําให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัย อย่างไรก็ตามคนหรือสัตว์เลี้ยงที่บริโภคอาหารและน้ำที่มีโลหะหนักปนเปื้อนเป็นเวลานาน ก็จะทำให้เกิดการสะสมและอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น หากเกิดการปนเปื้อน Cu ในอาหารสูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่อนุญาตจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า และเบื่ออาหาร เป็นต้น