กรมวิทยาศาสตร์บริการร่วมโชว์ 3 ผลงานเด่นในงาน TechnoMart 2022 ชมฟรีได้ที่สยามพารากอนและในรูปแบบออนไลน์

กรมวิทยาศาสตร์บริการร่วมโชว์ 3 ผลงานเด่นในงาน TechnoMart 2022 ชมฟรีได้ที่สยามพารากอนและในรูปแบบออนไลน์309447170_463115732510752_2967509145792266105_n 309887064_463115802510745_3756287452635669403_n
นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ได้จัดงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2565 หรือ TechnoMart 2022 ขึ้น ภายใต้แนวคิด “พลิกโฉมประเทศไทย สู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน” เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่โดดเด่นของ อว. ตลอดจนหน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง วศ.ในฐานะหน่วยงานหลักของ อว. ที่มีภารกิจหลักในการให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ และรับรองบริการและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงนำ 3 ผลงานเด่นของ วศ.มาจัดแสดงในงานดังกล่าวในรูปแบบ Hybrid Exhibition ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาการทดสอบอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจจ่ายอากาศบริสุทธิ์แบบหมวกคลุมศีรษะ หรือ PAPR รถพยาบาลเคลือบสารจุลชีพ และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยกระบวนการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน309669133_463115912510734_7407962382400769033_n
นายแพทย์ปฐม กล่าวว่า การพัฒนาการทดสอบอุปกรณ์ PAPR เป็นผลงานที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้เกิดปัญหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ขาดแคลน ซึ่ง วศ. ได้จัดทำประกาศ “ข้อกำหนดคุณลักษณะอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจจ่ายอากาศบริสุทธิ์แบบหมวกคลุมครอบศีรษะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์” หรือ PAPR ขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 และได้มีความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาเครื่องมือทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของชุด PAPR ทางการแพทย์ ที่กลุ่มผู้ผลิตคนไทยพัฒนาขึ้นเพื่อให้ได้มาตรฐาน และสร้างความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นใช้เองภายในประเทศ โดยสามารถทดสอบรายการสำคัญ เช่น ประสิทธิภาพการรั่วซึม ความสามารถในการจ่ายอากาศและการต้านการหายใจ ทั้งนี้การทดสอบ PAPR ดังกล่าว เมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายยังสามารถใช้กับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้อีกด้วย
สำหรับรถพยาบาลเคลือบสารจุลชีพ ซึ่งขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย เป็นผลงานที่ต่อยอดจากการพัฒนาวัสดุเคลือบผิวอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือสารต้านจุลชีพที่มีส่วนประกอบของนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ของทีมวิจัย วศ. ที่ประสบความสำเร็จในระดับห้องปฏิบัติการและผ่านการรับรองมาตรฐานประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรค และเพื่อนำไปสู่การใช้งานจริง วศ. ได้ร่วมมือกับบริษัทที เค ดี ไฟเบอร์ จำกัด (แครี่บอย) พัฒนานวัตกรรมกระบวนการฉีดเคลือบสารต้านจุลชีพบนพื้นผิวภายในรถพยาบาล รวมถึงการทดสอบประสิทธิภาพในการยึดเกาะบนพื้นผิววัสดุต่างๆ ในรถพยาบาล ซึ่งพบว่าแม้ผ่านการทำความสะอาดด้วยวิธีปกติแล้วถึง 100 ครั้ง สารเคลือบเหล่านี้ก็ยังยึดติดบนพื้นผิวชนิดต่าง ๆ ได้309654415_463115869177405_7081110471213790350_n309707758_463115899177402_1894104765730254332_n310050966_463115809177411_4349893736155757515_n
ส่วนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE) ด้วยกระบวนการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนนั้น ปัจจุบัน วศ. โดยกองตรวจและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ ได้พัฒนากระบวนการหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และข้อกำหนดเฉพาะผลิตภัณฑ์ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy : CE) โดยพิจารณาถึงเกณฑ์กำหนดด้านความปลอดภัย เช่น สารปนเปื้อน ความชื้น จุลินทรีย์ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การรั่วซึม ความคงรูป รวมถึงมีกระบวนการผลิตที่เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดสุขลักษณะอนามัย เบื้องต้น วศ. ได้เปิดบริการให้ใบรับรองผลิตภัณฑ์ภาชนะสัมผัสอาหารตามธรรมชาติ : กาบหมากขึ้น โดยมีผลิตภัณฑ์มาใช้บริการแล้วกว่า 30 โมเดล309536688_463115722510753_7674190740942942842_n
อย่างไรก็ดีในงาน TechnoMart 2022 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน-2ตุลาคมนี้ ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน วศ.ได้จัดแสดงผลงานรถพยาบาลเคลือบสารจุลชีพ ที่บริเวณลาน Parc Paragon ชั้น M ส่วนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนฯ จัดแสดงที่ Living Hall ชั้น 3 ขณะที่การพัฒนาการทดสอบอุปกรณ์ PAPR จัดแสดงในรูปแบบ Online ผ่าน https://www.technomart2022.com และ https://www.facebook.com/TechnoMartThailand/
#กรมวิทยาศาสตร์บริการ #technomart2022 #technomart

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »