อว. จัดบรรเลงเพลง คารวะผู้กล้าและผู้เสียสละด้วยเสียงเพลง ดนตรีที่สกลนคร

อว. จัดบรรเลงเพลง คารวะผู้กล้าและผู้เสียสละด้วยเสียงเพลง ดนตรีที่สกลนคร
www Thainewsvision.com
วิณิชชา ปิ่นทองIMG_20220526_172553IMG_20220526_172421IMG_20220526_172403

ช่วงค่ำวันนี้ (วันที่ 26 พฤษภาคม 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดเวทีบรรเลงเพลง คารวะผู้กล้าและผู้เสียสละด้วยเสียงเพลง ดนตรีที่สกลนคร จากโครงการวิจัยพื้นที่ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน และโครงการขยายผลต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ IMG_20220526_172215IMG_20220526_172152โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข หัวหน้าโครงการวิจัย มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข ควบคุมการบรรเลงวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า โดย ดร. ธีรนัย จิระสิริกุล และสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลง โดย ดร.สุชาติ วงษ์ทอง ณ อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่ จังหวัดสกลนคร IMG_20220526_171503โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธาน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บริหาร อว. สื่อมวลชน และประชาชนในพื้นที่ให้เกียรติเข้าร่วมงานIMG_20220526_172159IMG_20220526_171624IMG_20220526_171642IMG_20220526_171632ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า เมืองสกลนคร หรือเรียกอีกชื่อว่า เมืองหนองหารหลวง เป็นดินแดนแหล่งธรรม พื้นที่ราบภาคอีสานหรือตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาภูพานแบ่งเขตเป็นเหนือใต้ ตอนเหนือเป็นแอ่งสกลนคร ตอนใต้เป็นแอ่งโคราช แอ่งโคราชมีขนาดใหญ่ กินพื้นที่เกือบ 3 ใน 4 ของอีสาน มีแม่น้ำชี-มูลไหลผ่านไปลงแม่น้ำโขง ซึ่งมีศิลปะและวัฒนธรรมที่งดงาม IMG_20220526_175248อาทิเช่น อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ของจังหวัดสกลนคร เป็นต้น หากกล่าวถึงศิลปะทางดนตรีนับเป็นสิ่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราทุกคน การถ่ายทอดการแสดงศิลปะทางดนตรีในครั้งนี้เป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเอาเพลงพื้นบ้านรวมทั้งเพลงโบราณของภาคต่างๆ มาแสดงออกในรูปแบบของวงซิมโฟนีออร์เคสตร้า ซึ่งอีกด้านหนึ่งเป็นการอนุรักษ์และต่อยอด รวมทั้งพัฒนาด้วยดนตรีพื้นบ้านอันเป็นสมบัติที่ล้ำค่าของคนไทย โดย “มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข” ดำเนินการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข ในการวิจัยเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมการค้นหาเพลงเก่าของชุมชนในพื้นที่เพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่ พร้อมเล่นผ่านวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า เพื่อรักษาเพลงเก่า นำมาเสนอในรูปแบบใหม่ เป็นการรังสรรค์ท่วงทำนองคีตศิลป์กระตุ้นให้เกิดสิ่งใหม่บนรากฐานสิ่งเก่า นำไปสู่การส่งเสริมการรังสรรค์คีตศิลป์ผ่านบทเพลงและท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์เป็นการสร้างผลงานศิลปะทางวัฒนธรรมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมการอนุรักษ์และต่อยอดIMG_20220526_171324IMG_20220526_171312IMG_20220526_172620 หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อาจารย์สุกรี เจริญสุข และคณะ จะเป็นตัวอย่างในการสร้างสรรค์ท่วงทำนองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติเกิดการสานต่อสิ่งที่บรรพบุรุษของเราหลงเหลือไว้ สนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถของเด็กไทยสู่ระดับสากลพัฒนาดนตรีพื้นบ้านอันเป็นสมบัติที่ล้ำค่าของคนไทยให้ประเทศไทยได้รับการยกย่องจากนานาชาติผลักดันการเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติให้ดังก้องโลกIMG_20220526_172102  ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข เปิดเผยว่า คริสต์ศาสนาเป็นพื้นฐานของเพลงคลาสสิก ดนตรีอยู่คู่กับคริสต์ศาสนามาตลอด ในพิธีกรรมและการสวดภาวนาใช้เพลงเพื่อสื่อสารกับพระเจ้า มีบทเพลงสำคัญของคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะในสมัยแรกๆ ดนตรีต้องอาศัยเพลงสวด อาทิ บทสวดเกรกอเรียน (Gregorian Chant) ซึ่งเป็นบทสวดที่สำคัญของคาทอลิก ที่อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่ มีการสวดร้องเพลงในโบสถ์ ซึ่งคาทอลิก
ทุกคนสามารถที่จะร้องเพลงของวัดได้อย่างไพเราะ ร้องได้เต็มเสียง ร้องเพลงอย่างตั้งอกตั้งใจและด้วยความ
เต็มใจร้อง “เสียงใสออกมาจากจิตใจที่สะอาด” การได้พบประวัติศาสตร์ของชุมชนที่สำคัญครั้งนี้ สามารถบอกคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ถึงความเป็นมาของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น บันทึกเรื่องราวโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อแบ่งปันความรู้ ให้โอกาสสังคมได้ทำความเข้าใจ อีกทั้งยังมีประติมากรรมหินอ่อน เทวดามีคาแอล (St. Michael) ที่ตั้งไว้หน้าโบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่ เทวดามีคาแอล “มีคาแอล” แปลว่า ใครเล่าจะมาเทียบเท่า
พระเป็นเจ้า อัครเทวดาแห่งความคุ้มครอง และปกป้องพระศาสนจักรคาทอลิก ดังนั้นดนตรีจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญของคริสต์ศาสนา ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจึงได้นำวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้าเข้ามาเล่นดนตรีที่อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่ มาแสดงบทเพลงคลาสสิกเพื่อคารวะผู้กล้าและคารวะผู้เสียสละด้วยเสียงเพลง
สู่การขยายศิลปะทางด้านดนตรีต่อไป

ทั้งนี้การแสดงดนตรีที่สกลนครได้จุด “ประกาย” แสงสว่างไสวทำให้คนในพื้นที่ได้มองเห็น และตระหนักถึงการรักษาบทเพลงพื้นบ้านให้คงอยู่ เป็นประกายที่สำคัญ ในโอกาสนี้ได้จัดการแสดงบรรเลงบทเพลงเปิดการแสดงด้วย

เพลงโหมโรง เป็นเพลงโหมโรงประกอบด้วยเรื่องราววิลเลียมเทล เพลงรอสซินีเพลงซองทูเดอะมูน ขับร้องโดยคุณศศินี อัศวเจษฎากุล เป็นบทเพลงวิงวอนให้พระจันทร์นำความรู้สึกของเธอไปบอกให้แก่คนรักเป็นบทเพลงที่ไพเราะรัญจวน นิยมนำมาขับร้องเดี่ยว เพลงเลาดาเต โดมินุม ขับร้องโดย คุณกมลพร หุ่นเจริญ เพลงบทนี้นิยมนำมาขับร้องในงานเทศกาลหรือในสถานที่สำคัญทางศาสนาเพื่อรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า เพลงอาเวมารีอาขับร้องโดย คุณกมลพร หุ่นเจริญ เป็นบทเพลงบทภาวนาของชาวคาทอลิก เพลงนีซุนดอร์มา ขับร้องโดย คุณฉันทัช นีล ไนท์ และการแสดงไวโอลินคอนแชร์โต หมายเลข 3 ในบันไดเสียงจีเมเจอร์ ผลงานลำดับที่ 216
โดย คุณสิทธิชัย เพ็งเจริญ เพลงมั่นใจในพระองค์ ขับร้องโดย คุณกมลพร หุ่นเจริญ เพลงมั่นใจในพระองค์ ประพันธ์โดย คุณพีรสันติ จวบสมัย เป็นบทเพลงประจำอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล เพลงทะเลชีวิต ขับร้องโดย คุณอิสรพงศ์ ดอก เพลงโปรดเปลี่ยนแผ่นปังบูชา ขับร้องโดย คุณกมลพร หุ่นเจริญ เพลงมิตรสหาย ขับร้องโดยคุณศศินี อัศวเจษฎากุล เพลงแสงดาวแห่งศรัทธา ขับร้องโดย อิสรพงศ์ ดอกยอ การนำวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้าออกไปแสดงในท้องถิ่นไทย เป็นการบุกเบิกวัฒนธรรมเพลงแนวใหม่ โดยแสดงเพลงของท้องถิ่น เปิดให้เข้าชมฟรี การฟังเพลงที่ไม่มีพรมแดนขวางกั้น การสร้างให้นักดนตรีมีอาชีพ มีเกียรติเชื่อถือได้ และเป็นโอกาสที่ทำให้นักดนตรีได้แสดงอวดฝีมือ “ฝีมือดนตรีไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก”

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »