วช. หนุน มทร.พระนคร แปรเส้นใยจากใบอ้อย เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เตรียมถ่ายทอดสู่ชุมชน
วช. หนุน มทร.พระนคร แปรเส้นใยจากใบอ้อย เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เตรียมถ่ายทอดสู่ชุมชน
การเผาอ้อยหรือใบไม้แห้ง เป็นส่วนหนึ่งซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศ โดยเฉพาะการเกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM2.5 โดยปัญหานี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นในช่วงที่อากาศแล้งและมีปริมาณฝนน้อย เนื่องจากการชะล้างฝุ่นละอองเป็นไปอย่างจำกัด ซึ่งเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสุขอนามัยของประชาชน รวมทั้งส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก

จากปัญหาดังกล่าว ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ตระหนักถึงปัญหาของของจากการเผาอ้อย เพราะการเผาอ้อยในแต่ละครั้งสร้างมลพิษและปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM2.5
ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน










ปัจจุบันนักวิจัยได้นำกระบวนการแปรสภาพเส้นใยจากใบอ้อย ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีธรรมชาติเส้นใยจากใบอ้อย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอในรูปแบบใหม่ที่คงเอกลักษณ์โดยใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น ในหมู่บ้านที่มีการทอผ้าและการปลูกอ้อยอยู่แล้วในหลายพื้นที่และมีความพร้อมที่จะเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ได้แก่กลุ่มทอผ้า ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 4 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 6 บ้านเนินตะแบก, หมู่ที่ 7 บ้านหนองโกวิทย์, หมู่ที่ 8 บ้านหนองคุ้ม, และหมู่ที่ 12 บ้านสุขสำราญ



ผลที่ได้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีในครั้งนี้ ทำให้เกษตรกรลดการเผาอ้อย และหันมานำใบอ้อยไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอในรูปแบบใหม่ที่คงเอกลักษณ์โดยใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น นำสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่างมีจุดเด่นและมีศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีนิเวศเศรษฐกิจ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ได้จาก
ใบอ้อย ได้แก่ เสื้อคลุม หมวก รองเท้า กระเป๋า และผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ ได้แก่ โคมไฟ และอื่น ๆ อีกมากมาย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจ Facebook: NATHA เบอร์โทรติดต่อ 093-3955692 และ E-mail sarun.j@rmutp.ac.th