สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนติดตั้งอุปกรณ์ติดตามด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมบนตัวเหยี่ยวดำไทยเพื่อศึกษาเส้นทางอพยพระหว่างประเทศ หลังพบนกเหยี่ยวชื่อ “นาก” ที่เกิดใน อ.ปากพลี จ.นครนายก อพยพผ่านเส้นทางเมียนมาร์ บังคลาเทศ และไปอาศัยอยู่ที่อินเดีย

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนติดตั้งอุปกรณ์ติดตามด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมบนตัวเหยี่ยวดำไทยเพื่อศึกษาเส้นทางอพยพระหว่างประเทศ หลังพบนกเหยี่ยวชื่อ “นาก” ที่เกิดใน อ.ปากพลี จ.นครนายก อพยพผ่านเส้นทางเมียนมาร์ บังคลาเทศ และไปอาศัยอยู่ที่อินเดีย
วิณิชชา ปิ่นทองIMG_1038
     ผศ.น.สพ.ดร.ไชยยันต์ เกษรดอกบัว หน่วยวิจัยนกนักล่าและเวชศาสตร์การอนุรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยนิเวศวิทยาของเหยี่ยวดำชนิดย่อยประจำถิ่นในประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สาธิตเทคนิคการติดอุปกรณ์ติดตามด้วยดาวเทียมบนตัวเหยี่ยวดำไทย และเทคนิคการติดตามเหยี่ยวดำไทยระหว่างประเทศด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม เพื่อศึกษาเส้นทางอพยพ ณ สถาบันเกษตรอินทรีย์อาชีพแบบพอเพียง ต.ท่าเรือ อ.ปากพลี จ.นครนายก เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564IMG_0960 IMG_0961 IMG_0963IMG_0956IMG_0973IMG_0968
    การติดอุปกรณ์ติดตามด้วยดาวเทียมบนตัวเหยี่ยวดำไทยหรือเหยี่ยวดำชนิดย่อยประจำถิ่นในประเทศไทย เพื่อศึกษาเส้นทางอพยพเพิ่มเติมหลังจากนักวิจัยพบว่า เหยี่ยวดำเพศผู้ชื่อนาก รหัส R96 ซึ่งเกิดที่ อ.ปากพลี จ.นครนายก และได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามด้วยดาวเทียม อพยพผ่านเส้นทางเมียนมาร์ บังคลาเทศ และไปอาศัยอยู่ในรัฐคานัทฑะกะ ประเทศอินเดียขณะนี้ รวมระยะทางอพยพประมาณ 4,000 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของอาเซียนในการติดอุปกรณ์ติดตามดังกล่าวให้เหยี่ยวดำไทย และยังได้พบข้อมูลใหม่เกี่ยวกับเส้นทางอพยพของเหยี่ยวดำไทย ซึ่งเดิมเข้าใจว่าเป็นนกประจำถิ่นและอาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2564 นี้ทีมวิจัยจึงมีแผนติดตามเหยี่ยวดำไทยด้วยดาวเทียมเพิ่มอีก 6 ตัวIMG_0971 IMG_0972IMG_1008
ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกของโลกในการติดอุปกรณ์ติดตามด้วยดาวเทียมให้เหยี่ยวดำไทย ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า มิลวัส ไมแกรนส์ โกวินทะ (Milvus migrans govinda) เนื่องจากก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีการศึกษาเหยี่ยวดำชนิดย่อยโกวินทะด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม แต่มีทีมนักวิจัยอินเดียใช้เทคโนโลยีดาวเทียมศึกษาเหยี่ยวดำชนิดย่อยอีกชนิดคือ เหยี่ยวดำอพยพ หรือ เหยี่ยวดำใหญ่ หรือ เหยี่ยวหูดำ ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า มิลลัส ไมแกรนส์ ลิเนียตัส (Milvus migrans lineatus)IMG_1033 IMG_1032 IMG_1031
     ข้อมูลจาก ผศ.น.สพ.ดร.ไชยยันต์ เกษรดอกบัว ระบุว่า เหยี่ยวดำไทยกระจายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ปากีสถาน อินเดีย และเนปาล และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และไทย ยกเว้นมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ สำหรับในประเทศไทยพบการกระจายพันธุ์ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางลงไปถึง จ.เพชรบุรี โดยพื้นที่วิจัยของโครงการวิจัยนิเวศวิทยาของเหยี่ยวดำไทยอยู่ใน จ.นครนายก จ.อ่างทอง และ จ.เพชรบุรีIMG_1058 IMG_1059
    สถานภาพการอนุรักษ์เหยี่ยวดำไทยอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากภัยคุกคามจากการล่าลูกเหยี่ยวไปขายในวงการค้าสัตว์ป่า รวมทั้งต้นไม้สำหรับทำรังลดลง นอกจากนี้ยังไม่มีการศึกษานิเวศวิทยาการสืบพันธุ์ของเหยี่ยวดำไทยที่ทำรังวางไข่ในประเทศไทยและอาเซียนอย่างละเอียดเป็นระบบ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมจะช่วยตอบโจทย์วิจัยกรณีการอพยพย้ายถิ่นของเหยี่ยวดำไทยตามฤดูกาลเป็นครั้งแรกของอาเซียน และเส้นทางอพยพของนกเหยี่ยวชื่อนากยังเป็นครั้งแรกของโลกที่พบการอพยพจากเส้นทางทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก แตกต่างจากเส้นทางอพยพทั่วไปที่ย้ายถิ่นจากทิศเหนือลงทิศใต้IMG_1062 IMG_1061IMG_1068 IMG_1067
    เหยี่ยวดำไทยมีขนาดตัวจากจะงอยปากจรดปลายหาง 510 – 600 เซ็นติเมตร โดยตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีน้ำหนักตัวประมาณ 500 – 800 กรัม อาหารของเหยี่ยวดำไทย ได้แก่ หนูนา ปลา งู คางคก ลูกนกน้ำ เช่น นกกวัก ซึ่งนักวิจัยจะใช้ข้อมูลใหม่ด้านนิเวศวิทยาและการอพยพสร้างความตระหนักให้เกิดความสนใจต่อพฤติกรรมเดินทางไกลของเหยี่ยว และให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของเหยี่ยวดำในฐานะทรัพยากรธรรมชาติIMG_1086 IMG_1085IMG_1074IMG_1072IMG_1087 IMG_1092 IMG_1093 IMG_1096 IMG_1098 IMG_1099 IMG_1106 IMG_1108 IMG_1110 IMG_1111 IMG_1112 IMG_1113IMG_1114 IMG_1115 IMG_1116IMG_1126 IMG_1127 IMG_1128
พร้อมกันนี้ทีมวิจัยจะใช้ข้อมูลดังกล่าวจัดทำเป็นชุดความรู้ โดยจะจัดทำสื่อการเรียนรู้สำหรับเยาวชนและสาธารณะในรูปแบบแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ทโฟน และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แล้วส่งมอบให้แก่ชุมชนและโรงเรียนต่าง ๆ ฟรี เพื่อส่งเสริมศักยภาพของชุมชนปากพลีให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ก่อเกิดรายได้ให้ชุมชน และเหยี่ยวดำได้รับการคุ้มครองไปด้วย ซึ่งจะเป็นต้นแบบของการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างยั่งยืนโดยชุมชนมีส่วนร่วมIMG_1046IMG_1047IMG_1045 IMG_1044 IMG_1043IMG_1048 IMG_1052
    ทางด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้ อว. ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนางานิวัจยและนวัตกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรม ควบคู่ไปกับการต่อยอดงานวิจัยในทุกระดับ สำหรับประโยชน์จากโครงการวิจัยนิเวศวิทยาของเหยี่ยวดำชนิดย่อยประจำถิ่นในประเทศไทยนั้นคาดว่าจะทำให้ทราบนิเวศวิทยาของเหยี่ยวดำชนิดย่อยประจำถิ่นในประเทศไทย อันจะนำไปสู่การจัดการเพื่อแก้ปัญหาแนวโน้มการลดลงของประชากร และทราบถึงสถานภาพที่แท้จริงในปัจจุบันของเหยี่ยวดำชนิดนี้ และเผยแพร่สู่การเรียนรู้สู่ชุมชนเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีอยู่เหยี่ยวดำชนิดนี้ และสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »