จ.ยโสธรสนองนโยบายรัฐ หนุนเกษตรอินทรีย์ครบวงจร
จ.ยโสธรสนองนโยบายรัฐ หนุนเกษตรอินทรีย์ครบวงจร
นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรได้เป็นประธานงานเปิดตัวแตงโมอินทรีย์ จังหวัดยโสธร ครั้งที่1 เดินหน้าสนองนโยบายรัฐ หนุนเกษตรอินทรีย์ เป็นวาระแห่งชาติ แย้มวิสัยทัศน์ “ยโสธร เมืองวิถีอีสาน เกษตรอินทรีย์ ก้าวไกลสู่สากล” พร้อมกำหนดยุทธศาสตร์ เมืองเกษตรอินทรีย์ครบวงจร เริ่มปี 58-61 เน้นผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์และพืชอาหารประจำถิ่น ให้เป็นเมืองอาหารปลอดภัยสู่สากลอย่างแท้จริงซึ่งจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 11-13 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ ณ ลานกิจกรรมชั้น1 ห้าง THE WALK เกษตร-นวมินทร์ โดยภายในงานจะมีการนำแตงโมปลอดสารพิษ จาก จ.ยโสธรมาจัดนิทรรศการและจำหน่วยในราคากันเอง มีการสาธิตการทำเมนูต่างๆจากแตงโม มีการแนะนำขั้นตอนและวิธีการปลูกแตงโมปลอดสารพิษ รวมถึงการแข่งขันการกินแตงโมและกิจกรรมอื่นอีกมากมายจังหวัดยโสธรจะเป็นเมืองแห่งเกษตรอินทรีย์ โดยมีวิสัยทัศน์ว่า “ ยโสธรเมืองแห่งวิถีอีสาน เกษตรอินทรีย์ก้าวไกลสู่สากล ” เพราะประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดยโสธรประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การปลูกข้าวหอมมะลิซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ที่เพาะปลูกมากที่สุด นอกจากนี้ สินค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสามารถสร้างรายได้เข้าสู่จังหวัดเป็นจำนวนมาก คือ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์และข้าวหอมมะลิปลอดภัย ดังนั้นจังหวัดยโสธรจึงมีการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์มาเป็นระยะเวลายาวนานและมีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง “แตงโม” ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง มีพื้นที่ปลูกประมาณ 2,780 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3-4 ตัน/ไร่ มูลค่าการซื้อขาย 81,669,179 บาท/ปี เนื่องจากพื้นที่จังหวัดยโสธร มีความเหมาะสมกับการปลูกแตงโม ผลผลิตที่ได้จึงมีคุณภาพ และรสชาติดี พันธุ์แตงโมที่ปลูก ได้แก่ พันธุ์กินรี และพันธุ์จินตหรา ผลผลิตออสู่ตลาดในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน ของทุกปี ราคาจำหน่ายแตงโมอินทรีย์ จำหน่ายราคาเท่ากับแตงโมทั่วไป คือราคากิโลกรัมละ 9 – 15 บาท เนื่องจากมีพ่อค้ามารับซื้อน้อยราย ผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันจำนวนมาก จึงทำให้ราคาตกต่ำ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านการตลาดมีศักยภาพและกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภค ได้เข้ามามีส่วนร่วมและเชื่อมโยงเครือข่าย รวมทั้งเพื่อสร้างภาพลักษณ์ เมืองเกษตรอินทรีย์ (Organic City) ให้เด่นชัด และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการ “พัฒนากระบวนการผลิตพืชเศรษฐกิจ (เพิ่มเติมระยะที่ 2)” โดยจัดกิจกรรมขยายช่องทางการตลาดพืชเศรษฐกิจ (เปิดตัวแตงโมอินทรีย์) เป็นการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาพืชเศรษฐกิจของจังหวัดให้ตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภคต่อไป