60 ปี วช. จัดยิ่งใหญ่ งานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2562

 
60 ปี วช. จัดยิ่งใหญ่ งานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2562
www.Thainewsvision.com
พาฝัน ปิ่นทอง50951882_2304548779786826_2668360389552504832_n51623595_525424551311758_1549162276664115200_n
 
51318423_296712034536163_8809320344658640896_n51437354_434322463976046_7121142255934504960_n51518486_2512005102206180_3737855839516491776_nการจัดงานในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 21 เพื่อนำเสนอสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพร้อมใช้และความก้าวหน้าด้านการประดิษฐ์คิดค้นของประเทศให้เกิดการขยายผล และนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อความก้าวไกลของประเทศ”
โดยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ จะมีพิธีมอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ซึ่งเป็นงานสำคัญตามพันธกิจของ วช. เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิจัยไทยที่มีผลงานโดดเด่นสร้างคุณูปการให้กับวงวิชาการและประเทศชาติ รวมทั้งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัย ที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิดและภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ และสร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่าง ๆ โดย วช. ได้มอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 251751158929_411517059391360_4268281835261263872_n 51095843_2255360821456849_3088990592961609728_n 51503051_378938929590891_5850476232952512512_n 50986168_380124842535219_6634933897689825280_n 50903693_2171500666236082_7291462886319194112_n
สำหรับในปีนี้ วช. ได้พิจารณาและอนุมัติให้รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2562 ดังนี้
รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 10 ท่าน โดย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์พลรัตน์ วิไลรัตน์ จากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ได้แก่ ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.เผด็จ ธรรมรักษ์ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข จากสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนลีสุรนารี สาขาปรัชญา ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล จากคณะวิจิตรศิลป์ หาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรองศาสตราจารย์ ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขานิติศาสตร์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.สุรสักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสาขาสังคมวิทยา ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.เสมอชัย พูลสุวรรณ จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์50978669_2170215939862078_3420835739233943552_n 51007116_613463909114462_6555661398544744448_n 51062827_163130091287070_4106727465055944704_n 51092672_1045652352288129_1494186304433291264_n
รางวัลผลงานวิจัย จำนวน 40 ผลงาน มีผลงานที่ได้รับรางวัลระดับดีเด่น จำนวน 1 ผลงานได้แก่ ผลงานโครงสร้างระดับนาโนเมตรที่ซับซ้อนและการประยุกต์ใช้งานด้านพลังงานและเซ็นเซอร์ ของศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และคณะ
รางวัลวิทยาพนธ์ จำนวน 45 เรื่อง มีผลงานที่ได้รับรางวัลระดับดีเด่น จำนวน 1 เรื่อง ได้แก่ การใช้สารสกัดชาเขียวปราศจากคาเฟอีนร่วมกับการออกกำลังกายแบบสมัครใจป้องกันโรคอ้วนลงพุงในหนูอ้วนอาหารไขมันสูง ของ ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น51107090_1974257929536322_2497999919051177984_n 51234318_827148454298079_4669465500495904768_n 51284397_341355179925335_2777091227567259648_n
รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 51 ผลงาน มีผลงานที่ได้รับรางวัลระดับดีมาก จำนวน 8 ผลงาน ได้แก่ PSU–VisDNA Kit : ชุดน้ำยาเรืองแสงและอุปกรณ์ครบวงจรสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอจากวัตถุพยานชีวภาพ ของผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ภูวดล ธนะเกียรติไกร และคณะ กล้องจุลทรรศน์สมาร์ตโฟน : ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่บนสมาร์ตโฟน ของศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และคณะ กระดูกเทียมก้อนแข็งเนื้อพรุนผลิตจากเปลือกหอยเคลือบข้าว ของรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สิทธิพร บุณยนิตย์ และคณะ นวัตกรรมการคงสภาพสมุนไพรสดโดยใช้ RF Dry Blanching ยับยั้งการทำงานของเอนไซน์ คงสภาพสีและกลิ่นรสของสมุนไพรในฟิล์มบริโภคได้พร้อมปรุง ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปุณฑริกา รัตนตรัยวงศ์ และคณะ “คลีน” นวัตกรรมใหม่เพื่อการจับตัวน้ำยางแบบประหยัดน้ำ และลดน้ำเสียในกระบวนการผลิตยางแผ่น (รมควัน) ของนายภูริพงศ์ วรรณวิไล และคณะ 51204983_634272610379432_5646321301908881408_n 51080301_554112908332127_4004470521440763904_nเครื่องจักรกลแปรรูปกุ้งสำหรับอุตสาหกรรมอาหารญี่ปุ่นเพื่อการส่งออก ของ ดร.พิพัฒน์พงศ์ วัฒนวันยู และคณะ เครื่องค้นหูกแบบกึ่งอัตโนมัติ ของนายสมนึก มังกะระ และคณะ และอาษาเฟรมเวิร์ค ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาษา ตั้งจิตสมคิด และคณะ
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ได้ที่ www.inventoday.nrct.go.th หรือลงทะเบียนเข้าร่วมงานโดยผ่านระบบ QR Code ได้ที่หน้างาน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2561 6445 ต่อ 524
www.inventoday.nrct.go.th
inventoday.nrct.go.th

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »