สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดอบรมหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรอาหารไทยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดอบรมหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรอาหารไทยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
www.Thainewsvision.com
พาฝัน ปิ่นทอง25620123_๑๙๐๑๒๓_0036 25620123_๑๙๐๑๒๓_0034 25620123_๑๙๐๑๒๓_0031
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเปิดหลักสูตรอาหารไทย สำหรับผู้สูงอายุ รองรับ Grand Age ระหว่างวันที่ 23 – 24 มกราคม 2562 เวลา 09.00 น. ณ อาคาร 12 ห้องปฏิบัติการโรงเรียนการอาหารนานาชาติ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต25620123_๑๙๐๑๒๓_0011 25620123_๑๙๐๑๒๓_0012 25620123_๑๙๐๑๒๓_0020 25620123_๑๙๐๑๒๓_0023
โครงการวิจัยการพัฒนาหลักสูตรอาหารไทยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นโครงการวิจัยย่อย ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยตอบสนองนโยบายเป้าหมายรัฐบาล และตามวาระระเบียบวาระแห่งชาติ กลุ่มเรื่อง ครัวไทยสู่ตลาดโลก ประจำปีงบประมาณ 2560 ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก วช. โดยมี อาจารย์จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ทำการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรอาหารไทยให้กับ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สูงวัย กลุ่มวัยเรียน กลุ่มนักเรียนไทยที่จะไปใช้ชีวิตในต่างแดน และกลุ่มภริยาทูต 182339182342 182346 182350182341 จากการศึกษาพัฒนาหลักสูตรกลุ่มผู้สูงวัยพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเน้นทานอาหารที่ย่อยง่าย จุดนี้เองจึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์หลักสูตรการเรียนการสอน “แนะนำการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีสุขภาพดีด้วยอาหาร” แก่กลุ่มผู้สูงวัย โดยได้มีการสอนการต้มข้าวสำหรับมื้อเช้าหลาย ๆ แบบ และวิธีการเตรียมน้ำสต๊อกแต่ละแบบ เช่น ข้าวต้มกุ้ง ข้าวต้มไก่ ข้าวต้มหมู ข้าวต้มธัญพืช และเมนูอาหาร 4 ภาค ซึ่งเป็นเมนูอาหารสุขภาพและเมนูอาหารที่ผู้สูงวัยสนใจ182365 18235225620123_๑๙๐๑๒๓_0003 25620123_๑๙๐๑๒๓_0006 ได้แก่ ภาคกลาง เช่น ต้มยำปลากะพง น้ำพริกป่นปลาทูและผักเคียง และเต้าหู้สามรส ภาคใต้ เช่นต้มปลาทูใส่ขมิ้น หมี่กะทิปู และไก่ทอดหาดใหญ่ ภาคอีสาน เช่น ต้มผักหวานใส่ปลา ปลานึ่งจิ้มแจ่ว และหมกเห็ดและภาคเหนือ เช่น แกงแค น้ำพริกอ่องและผักเคียง ฮังเลซี่โครงหมู25620123_๑๙๐๑๒๓_0041
นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กวัยเรียน โดยใช้วัตถุดิบที่เป็นอาหารท้องถิ่น ได้แก่ ข้าว มะพร้าว และน้ำตาล เป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ เพื่อให้เยาวชนได้ซึมซับวัตถุดิบจากท้องถิ่นไทย และแนวทางการปรุงอาหารไทยที่รับวัฒนธรรมการทำขนน มาจากโปรตุเกส หลักสูตรสำหรับกลุ่มนักศึกษาที่จะไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดน ทางคณะนักวิจัยได้พัฒนาให้ผู้เรียนรู้จักเทคนิคการปรุงอาหารไทยในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถใช้ในการดำรงชีวิตในต่างแดน รวมถึงการประยุกต์ใช้วัถตุดิบที่มีในต่างประเทศในอาหารไทยให้เหมาะสม และหลักสูตรสำหรับผู้ที่ทำงานในสถานทูต หรือ ภริยาทูต มุ่งเน้นที่จะสื่อสารวัฒนธรรมผ่านอาหารไทยที่มีกระบวนการปรุงที่ประณีตและตั้งใจ โดยมีวัถตุดิบของไทยที่มีรสชาติ และกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้ผู้คนจากต่างถิ่นได้เข้าใจความเป็นมาของรากเหง้าวัฒนธรรมการกินอยู่ของคนไทย

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »