วช.นำสื่อมวลชนสัญจรดูงาน : อาหารปลอดภัย ปลาปลอดพยาธิ” อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
วช.นำสื่อมวลชนสัญจรดูงาน : อาหารปลอดภัย
ปลาปลอดพยาธิ” อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
www.Thainewsvision.com
ข่าว -ภาพ พาฝัน ปิ่นทองสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น โครงการสื่อมวลชนสัญจร เรื่อง “ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ : อาหารปลอดภัย ปลาปลอดพยาธิ” ในวันที่ 11 มกราคม 2562 ณ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเผยแพร่ผลงานและกิจกรรมของ วช. ไปสู่สาธารณชนได้รับทราบและนำไปสู่การใช้ประโยชน์
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2560 วช. ได้สนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยการทำกิจกรรมและส่งเสริมการวิจัย โครงการท้าทายไทย : ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ (Grand Challenges Thailand : Fluke Free Thailand) แก่ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ณรงค์ ขันตีแก้ว และคณะ แห่งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีแบบครบวงจรให้กับประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ สกลนคร และจังหวัดแพร่ โดยคณะนักวิจัยได้ทำการศึกษาวิจัย ทั้งหมด 11โครงการ โครงการท้าทายไทยเป็นความร่วมมือระหว่าง วช. และเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ หรือ คอบช. ที่เริ่มให้การสนับสนุนโครงการวิจัยประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีแบบครบวงจร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559ที่ผ่านมาศาสตราจารย์ ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ นักวิจัยในโครงการวิจัยท้าทายไทย ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ หัวหน้าโครงการ อาหารปลอดภัย : ปลาปลอดพยาธิ กล่าวว่า ได้ทำการสำรวจการติดเชื้อตัวอ่อนระยะติดต่อในปลาวงศ์ตะเพียนในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดสระแก้ว เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มปลาร้าปลอดพยาธิและทำต้นแบบฟาร์มปลาตะเพียนปลอดพยาธิ รวมถึงพัฒนาแนวทางการทำปลาร้าปลาส้มให้ถูกสุขอนามัย โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่ โรงงานแม่เตี้ย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และความร่วมมือกับคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จนได้ผลิตภัณฑ์ปลาร้าปลาส้มพร้อมรับประทานในแบบต่างๆ เช่น ปลาส้มทอด ปลาส้มก้อน ลาบปลาส้มก้อน แบบพร้อมรับประทานได้สะดวก โดยใช้ไมโครเวป อุ่นอาหาร ที่ปรุงสำเร็จ ทั้งแบบแช่เย็นและแข็ง โดยใช้ความหนาของปลาในแบบต่าง ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการอุ่นและรสชาติของอาหาร และยังรักษาคุณค่าอาหารให้ถูกหลักโภชนาการได้เป็นอย่างดี