อีฟราสทัคเชอร์ผนึกคอมแพร์ ดอท เอเชีย เพย์ โซลูชั่น และชิปป๊อปบุกตลาดสตาร์ทอัพรุกหนักให้บริการด้านe –commerce แบบครบวงจร
อีฟราสทัคเชอร์ผนึกคอมแพร์ ดอท เอเชีย เพย์ โซลูชั่น และชิปป๊อปบุกตลาดสตาร์ทอัพรุกหนักให้บริการด้านe –commerce แบบครบวงจร
สตาร์ทอัพ ถือเป็นธุรกิจแนวใหม่ที่มีแนวโน้มการเติบโตและกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในขณะนี้ ธุรกิจสตาร์ทอัพจึงกลายเป็นช่องทางทำเงินได้อย่างรวดเร็ว รัฐบาลหลายประเทศได้หันมาลงทุนกับธุรกิจนี้เพิ่มมากขึ้น สตาร์ทอัพจึงถือเป็นธุรกิจแนวใหม่ที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดมีเจ้าของเป็นบุคคลเพียงคนเดียวหรือเฉพาะกลุ่มบุคคล อาทิ เฟสบุ๊ค ทวิสเตอร์ อินสตาแกรมและแอปเปิ๊ล ซึ่งกลุ่มบุคคลพวกนี้ก็เคยเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพมาก่อนแทบทั้งสิ้น
ปัจจุบันธุรกิจสตาร์ทอัพ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยมีสถิติที่น่าสนใจเกิดขึ้นในปี 2558 มีการลงทุนในกลุ่มสตาร์ตอัพไทยประมาณ 35 – 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1,260- 1,440 ล้านบาท ด้วยดีลในการร่วมลงทุนในธุรกิจกว่า 20 ดีล และยังมีอีกหลายดีลที่ไม่เปิดเผย รวมทั้งหมดแล้วคาดการณ์มูลค่าในการลงทุนประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 1,800 ล้านบาท และมูลค่าลงทุนในสตาร์ทอัพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปีนี้น่าจะเพิ่ม 1.5-2 เท่าจากปีก่อน ส่วนในประเทศไทยก็น่าจะมีอัตราการเติบโตในสัดส่วนที่เท่ากัน และมูลค่าการลงทุนในสตาร์ทอัพไทยอย่างไม่เป็นทางการปีนี้อาจทะลุ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 3,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่าลงทุนอยู่ที่ 70 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 2,100 ล้านบาท
คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานกรรมการและผู้ก่อตั้งบริษัท อีฟราสทรัคเชอร์ จำกัดเปิดเผยว่า เพื่อเป็นการขยายตัวธุรกิจในกลุ่มอีฟราสทรัคเชอร์ จึงมีแนวคิดที่ต้องการขยายการลงทุนเพิ่มในกลุ่มสตาร์ทอัพเพื่อให้การบริการทางด้าน E – commerce แบบครบวงจร
ได้แก่ บริษัท เพย์ โซลูชั่น จำกัด ผู้ให้การบริการระบบอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ที่ครอบคลุมการรับชำระเงินอย่างครบวงจร บริษัท ชิปป้อป จำกัด ระบบขนส่งออนไลน์ ิรวบรวมบริษัทขนส่งมาไว้ในระบบเดียว ง่ายต่อการเชื่อมต่อและเลือกใช้บริการโลจิสติกส์ต่างๆอย่างครบวงจรและบริษัท คอมแพร์ ดอท เอเชีย จำกัด ระบบที่เปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ ซึ่งทั้ง 3 บริษัทนี้จะทำให้กลุ่อีฟราสทรัคเชอร์แกร่งและครบวงจรมากยิ่งขึ้นโดยการทำงานของแต่ละบริษัทย่อย จะเป็นการบริหารงานด้วยตัวของตัวเองแต่จะมี กลุ่มบ.อีฟราสทรัคเชอร์จะคอยสนับสนุนงานด้านฝ่ายบุคคลและบัญชีจึงทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพ ภายใต้การบริหารงานของบ อีฟราสทรัคเชอร์สามารถโฟกัสกับธุ่รกิจได้ดียิ่งขึ้น“เทคโนโลยีสมัยนี้โตเร็วมาก แต่เราสามารถเรียนรู้กันได้ เพราะแนวคิดสำหรับสตาร์ทอัพนั้น ต้องมองปัญหาให้เป็น โดยสิ่งสำคัญของการเป็นสตาร์ทอัพ คือ การคิดหาทางออกที่ดีกว่าวิธีการแบบเดิม (Better Solution) และต้องมองการเติบโตเพิ่มขึ้นสิบเท่าถือว่าต่างจากธุรกิจแบบเอสเอ็มอี นักพัฒนาควรมองโจทย์เริ่มต้นก่อนว่าเหมาะจะเป็นสตาร์ทอัพหรือเอสเอ็มอีมากกว่ากัน” ภาวุธกล่าว ทั้งนี้ สตาร์ทอัพในไทยมักดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งสอดคล้องกับกระแสความนิยมที่เกิดขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะธุรกิจ e-commerce ที่ได้รับความนิยมสูงสุด และจากการรวมตัวของกลุ่มบ.อีฟราสทรัคเชอร์ที่มุ่งเน้นการให้บริการแบบครบวงจร สามารถตอบโจทย์การพัฒนาแผนธุรกิจที่เข้มแแข็งได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว