อพท.7ผนึกภาคีเครือข่ายในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทองพร้อมมอบวุฒิบัตรแก่ผู้สำเร็จการอบรมโครงการฝึกอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์เฉพาะ (ไทย-เฉพาะพื้นที่) รุ่นที่ 1ณ สำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง (อพท.7) อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
อพท.7ผนึกภาคีเครือข่ายในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทองพร้อมมอบวุฒิบัตรแก่ผู้สำเร็จการอบรมโครงการฝึกอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์เฉพาะ (ไทย-เฉพาะพื้นที่) รุ่นที่ 1ณ สำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง (อพท.7) อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
www.Thainewsvision.com
ข่าว : ชมพูนุท ธาราสิทธิโชค /พาฝัน ปิ่นทอง
ภาพ : พาฝัน ปิ่นทองนายสมจินต์ ชาญกระบี่ รอง ผู้จัดการอพท.7 และรักษาการผู้จัดการ.อพท.7ได้กำหนดจัดงานสร้างภาคีเครือข่ายในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง (อพท.7)ขึ้น โดยมีนายวิเศษ เพชรประดับ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระและนายสนิท บุญทิม ประธานชุมชนวัดอู่ทอง ทำหน้าที่ในการอาราธนาศีล พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ร่วมถวายภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุสงฆ์ พร้อมทั้งร่วมทำพิธีเปิดป้ายอาคารสำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทองอย่างเป็นทางการ โดยพระสงฆ์เจิมป้าย/ผู้เข้าร่วมงานถ่ายรูปร่วมกันบริเวณ หน้าอาคารสำนักงาน อพท.7 สื่อมวลชนและภาคีต่างๆ เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชมรม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชุมชนและประชาชนพร้อมกัน ณ สำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง (อพท.7) อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีช่วงบ่ายนายสมจินต์ ชาญกระบี่ รอง ผจก.อพท.7 และรักษาการ ผจก.อพท.7 พาคณะสื่อมวลชนลงเรือบริเวณคูเมืองโบราณอู่ทอง เพื่อสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำเมืองโบราณอู่ทองและให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำเมืองโบราณอู่ทองว่าจะมีการเปิดให้มีการล่องเรือรอบคูเมืองโบราณอู่ทองและแม่น้ำจรเข้สามพันในอนาคตอันใกล้นี้ โดยที่ผ่านมาในปี 2557 อพท.7 ได้ดำเนินโครงการออกแบบและปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำเมืองโบราณอู่ทองไปแล้ว ในปีนี้จึงมีการดำเนินโครงการอีกหลายโครงการด้วยกันเพื่อพัฒนาให้คูเมืองโบราณอู่ทองและแม่น้ำจรเข้สามพันเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของเมืองโบราณอู่ทองจากนั้นว่าที่ร้อยตรีสุพีร์พัฒน์ จองพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวเปิดงาน “สร้างภาคีเครือข่ายในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง (อพท.7)และงานเลี้ยงปีใหม่พร้อมมอบวุฒิบัตรแก่ผู้สำเร็จการอบรมโครงการฝึกอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์เฉพาะ (ไทย-เฉพาะพื้นที่) รุ่นที่ 1 จำนวน 46 คนและนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ รองผู้อำนวยการ อพท. มอบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมการประกวดอาหารพื้นถิ่นเมืองโบราณอู่ทองประจำปี 2558จำนวน 50 คน และเป็นประธานนำร้องเพลงปีใหม่ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี และนายสมจินต์ ชาญกระบี่ รอง ผจก.อพท.7 และรักษาการ ผจก.อพท.7 พร้อมชมการแสดง กร กังฟู จากคณะสื่อมวลชนที่นำมาแสดงโชว์จากกรุงเทพมหานครปิดท้ายด้วยการจับรางวัลมอบเป็นของขวัญปีใหม่กับผู้เข้าร่วมงานกว่า 200 รายการ
ด้านนางสาวชมพูนุท ธาราสิทธิโชค เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมว่า พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง (อพท.7) เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ลำดับที่ 7 ขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) อพท.เป็นหน่วยงานประเภทองค์การมหาชน อยู่ภายใต้กำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี หลักการทำงานของ อพท. คือ ประสานทุกภาคี เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การทำงานทุกอย่างต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย อพท.ทำงานไม่เหมือน ททท. ตรงที่ ททท.เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งเน้นการประชาสัมพันธ์และการตลาด แต่ อพท.ไม่ได้ทำแค่ประชาสัมพันธ์และการตลาด เราเข้ามาบริหารจัดการพื้นที่ตามประกาศ ครม. พัฒนาให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตัวชี้วัดความสำเร็จของการทำงานไม่ได้มุ่งเน้นที่จำนวนนักท่องเที่ยว Demand แต่เราเน้นพัฒนาด้าน Supply ให้ดี ด้วยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยเอาเครื่องมือการท่องเที่ยวมาช่วยให้คนในท้องถิ่นที่เราทำงานตามประกาศฯ เกิดชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการพื้นที่พิเศษเป็นแกนหลักในการทำงาน ซึ่งโดยทั่วไปมีการจัดทำแผนระยะ 10 ปี และท้ายที่สุดก็จะประสานงานกับ ททท. ให้ ททท. ช่วยประชาสัมพันธ์และจัดทำการตลาดเมื่อพื้นที่ได้พัฒนาศักยภาพเรียบร้อยแล้ว นางสาวชมพูนุท ธาราสิทธิโชค เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ได้นำคณะสื่อมวลชนท่องเที่ยวเข้าร่วมศึกษาและเรียนรู้อีกครั้งที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง เยี่ยมชมเรือนลาวโซ่ง และส่วนจัดแสดงอาคาร 1 และอาคาร 2 โดยมี นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ผอ.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง และนางสาวชมพูนุท ธาราสิทธิโชค เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ อพท.7 พานำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทองภายในส่วนจัดแสดงอาคาร 1 ประกอบไปด้วยโบราณวัตถุชิ้นเอกในยุคสมัยทวารวดีที่สำคัญๆ อยู่หลายชิ้นด้วยกัน เช่น แผ่นดินเผาพระภิกษุสามองค์อุ้มบาตรเป็นศิลปะอมราวดีจากอินเดียที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ทำให้เราทราบว่าในช่วงแรกที่เรารับศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศไทยในยุคทวารวดีได้รับอิทธิพลจากศิลปะอมราวดี นอกจากนี้ ภายในอาคาร 1 ยังมีธรรมจักร แท่นศิลาและเสาตั้งที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันธรรมจักรดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการก่อสร้าง Lankmark ของเมืองโบราณอุ่ทอง โดยจะมีการก่อสร้างสัญลักษณ์เมืองโบราณอู่ทองในปี 2559 นี้บริเวณสนามหญ้าหน้าที่ว่าการอำเภออู่ทอง ยังมีการจัดแสดงลูกปัดทวารวดีอู่ทอง เครื่องใช้ไม้สอยยุคโบราณตั้งแต่สมัยหินใหม่ สมัยสำริดและสมัยเหล็ก เหรียญเงินและเหรียญทองโบราณต่างๆ อีกด้วยส่วนอาคารจัดแสดง 2 เป็นการนำวีดีทัศน์ความเป็นมาของเมืองโบราณอู่ทองมาฉายให้นักท่องเที่ยวชม รวมทั้งมีสื่ออัลนิเมชั่นต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเช่น เรื่องการพิมพ์พระภิกษุสามองค์อุ้มบาตร การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเส้นทางการค้าขายทางเรือในสมัยอดีตที่เชื่อมโยงเมืองโบราณอู่ทองระหว่างประเทศซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออกเข้าด้วยกัน ทำให้เราทราบว่าเมืองโบราณอู่ทองในอดีตเป็น AEC เป็นเมืองท่าค้าขายทางทะเลที่สำคัญ ทำให้มีเครื่องประดับเช่น ลูกปัดหินคาเนเลียนจากอินเดีย และลูกปัดมีตาจากทางยุโรปเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิซึ่งเชื่อว่าคือเมืองโบราณอู่ทองหลังจากท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทองแล้ว สื่อมวลชนยังได้ลงพื้นที่ไปร่วมทำบุญใน การก่อสร้างพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ ที่บริเวณหน้าผามังกรบิน วัดเขาทำเทียม ในขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้วกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยส่วนที่เป็นพระพักตร์ปรากฏให้เห็นเด่นชัดแล้ว ซึ่งพระพักตร์เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจะเป็นการแกะสลักส่วนที่เป็นองค์พระและฐานพระ ซึ่งจะใช้เวลาในการแกะสลักได้เร็วขึ้นเนื่องจากไม่มีรายละเอียดมากนัก และจะเสร็จสมบูรณ์ภายใน ปี 2559 นี้นอกจากนี้ สาธุชนยังสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมรดกทางศาสนาหนึ่งเดียวในไทยและยิ่งใหญ่ในโลกได้ในครั้งนี้ด้วย โดยผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมทำบุญแกะสลักพระพุทธปุษยคีรี ศรีสุวรรณภูมิ จะได้รับพระเกตุมาลา จำลองเพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นของที่ระลึกอีกด้วย ล่าสุดมีสาธุชนหลั่งไหล ร่วมบริจาคทำบุญแกะสลักพระพุทธปุษยคีรี ศรีสุวรรณภูมิ อย่างไม่ขาดสาย หลังจากนั้น จึงเดินทางไปท่องเที่ยว สวนหินพุหางนาค โดยมี นายสมพงษ์ แตงทับ อาสาสมัครนำเที่ยวสวนหินพุหางนาค เป็นผู้สื่อความหมายพานำชมสวนหินพุหางนาค ทำให้พวกเราได้พบกับ หินรูปวานร ประตูเมืองลับแล หินซอร์คเกอร์ หินรูปหัวใจ ดงดอกกระเจียวป่า หินรูปช้างสามเศียร หินรูปลายหัวนาค ต้นสลักได ต้นจันผา วิวชมทัศนียภาพเมืองโบราณอู่ทอง เป็นต้น และได้แนะนำให้ทุกท่านทานเครื่องดื่ม คือ น้ำชาจากต้นหญ้ากำลังวัวเฉลิม และน้ำฝางจากเปลือกไม้ต้นฝาง นอกจากนี้ ยังมีต้นว่านสามสิบ ที่ช่วยเรื่องปรับสมดุลให้ผู้หญิง ทำให้ช่องคลอดกระชับ มดลูกเข้าอู่ดี รวมทั้งยังแนะนำเรื่อง เล็บครุฑ และนางพระยาเท้าเอว ซึ่งทางอพท.7 มีการส่งเสริมและสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวสวนหินพุหางนาคหลายกิจกรรมด้วยกัน และจะดำเนินการต่อเนื่องไปจนครบ 10 ปี เริ่มสนับสนุนตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา