องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “วิถีเกษตร BCG ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง” พร้อมเยี่ยมชมกระบวนการผลิตชีวภัณฑ์เชิงอุตสาหกรรมตามหลักการเกษตรปลอดภัย
องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “วิถีเกษตร BCG ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง” พร้อมเยี่ยมชมกระบวนการผลิตชีวภัณฑ์เชิงอุตสาหกรรมตามหลักการเกษตรปลอดภัย
พลเอกกัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรีและประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “วิถีเกษตร BCG ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง” พร้อมเยี่ยมชมกระบวนการผลิตชีวภัณฑ์
เชิงอุตสาหกรรมตามหลักการเกษตรปลอดภัย และร่วมประชุมหารือความร่วมมือการสนับสนุนทางวิชาการระหว่างมูลนิธิโครงการหลวง และ วว. ช่วงปี พ.ศ. 2566 – 2570 เพื่อแสดงผลสำเร็จการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาตอบโจทย์ภาคการเกษตรของประเทศ ผ่านโครงการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคกลางตะวันตกด้วย BCG โมเดล ตามนโยบายรัฐบาลภายใต้โครงการ พ.ร.ก.เงินกู้ และโครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับด้วยนวัตกรรมเกษตรโดยใช้แนวทางมาลัยวิทยสถาน อว. ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ ศ.(วิจัย) ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยให้การต้อนรับ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอก ไม้ประดับ ด้วยนวัตกรรมเกษตร ตามแนวทางมาลัยวิทยสถาน อว.
ว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มอบหมายให้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
เป็นหน่วยงานหลักดำเนินโครงการฯ เพื่อสนับสนุนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ด้วยการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อยกระดับภาคเกษตรเป็นธุรกิจ สร้างงาน
สร้างรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการต่อเนื่อง มุ่งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยในการช่วยเพิ่มรายได้ของชุมชนในพื้นที่ให้มากขึ้นกว่าเดิมและเป็นแหล่งวิทยาการแห่งการเรียนรู้ สร้างแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรม ในปี 2564 ดำเนินกิจกรรมในพื้นที่นำร่อง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดเลย เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ โดยขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่าน 4 กิจกรรมย่อย คือ 1.การพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานไม้ดอกไม้ประดับอัตลักษณ์ประจำถิ่นเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ 2.การพัฒนาปัจจัยการผลิตในการทำเกษตรปลอดภัยสำหรับไม้ดอกไม้ประดับ 3.การยกระดับระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับที่ดีด้วยเกษตรแม่นยำ และ 4.การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์ไม้ตัดดอกและไม้ประดับกระถางส่งตรงผู้บริโภค
โครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอก ไม้ประดับ ด้วยนวัตกรรมเกษตร ได้นำแนวทางมาลัยวิทยสถาน อว. มาดำเนินงานสำเร็จเป็นรูปธรรม โดยประสบผลสำเร็จในการพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในประเทศไทย ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สามารถรวมกลุ่มผู้ประกอบการได้จำนวน 6 กลุ่มเป็นคลัสเตอร์ ประกอบด้วย คลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา
เลย สุพรรณบุรี นครนายก รวมทั้งจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 90 ล้านบาทต่อปี ซึ่งมีการนำไปใช้จริงในทุกภาคส่วน ทั้งนี้ได้มีการนำสารชีวภัณฑ์สำหรับป้องกันกำจัดศัตรูพืชไปให้เกษตรกรใช้ในการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อตอบสนองแนวทางเกษตรปลอดภัย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกด้วย