สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษาฯ ร่วมกับ สถาบันอาหารและสถาบันอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประกาศความสำเร็จผ่านโครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนพร้อมโชว์สุดยอดผลงานนวัตกรรมของผู้ประกอบการกว่า 150 ผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์

สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษาฯ ร่วมกับ สถาบันอาหารและสถาบันอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประกาศความสำเร็จผ่านโครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนพร้อมโชว์สุดยอดผลงานนวัตกรรมของผู้ประกอบการกว่า 150 ผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์IMG_3045 IMG_3043

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว.) ผนึกกำลัง 2 หน่วยงาน สถาบันอาหาร (สอห.) และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (สสท.) ประกาศผลสำเร็จ “โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (IGNITE PLUS)”IMG_3035IMG_3042 IMG_3041 ภายใต้กลไกสำคัญ Innovation-Driven Enterprises (IDEs) หนุนผู้ประกอบการ OTOP ในสาขาสิ่งทอและอาหาร สร้างและพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสม ตอบโจทย์ยุค 4.0 พร้อมโชว์สุดยอดผลงานนวัตกรรมของผู้ประกอบการ 150 ผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาทIMG_3053 IMG_3054 IMG_3055 IMG_3056   นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เปิดเผยว่า “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีนโยบายหลักในการเตรียมความพร้อมคนไทยสู่ฐานนวัตกรรมภายใต้โมเดล ‘ไทยแลนด์ 4.0’ มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมอย่างครบวงจร โดยเริ่มจากการพัฒนาความสามารถของบุคลากร (Capacity Building) การพัฒนาฐานความรู้นวัตกรรม (Innovation Knowledge Based) และพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยหลักการของ BCG (Bio-Circular-Green) Economy Model เพื่อตอบโจทย์การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการ ชุมชน และเครือข่ายในทุกภาคส่วนของประเทศIMG_3060 IMG_3068 IMG_3070 IMG_3073 IMG_3076 IMG_3077 IMG_3079 IMG_3080 นอกจากนั้น นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กล่าวเสริมว่า “โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (IGNITE PLUS)” เป็นโครงการต่อยอดความสำเร็จจากปี 2560IMG_3082 IMG_3083 IMG_3084 เพื่อพัฒนาสินค้าชุมชนไทยให้มีมูลค่า ความแตกต่างและสู่สากล ด้วยการนำนวัตกรรมเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อน เน้นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการชุมชน ผลิตภัณฑ์ขายได้จริง ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นมีต้นทุนที่เหมาะสม และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพIMG_2939 IMG_2948 IMG_2949 IMG_2955 IMG_2956 IMG_2958 ตลอดระยะเวลา 7 เดือน สป.อว ร่วมกับ สอห. และสสท. ดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรมบ่มเพาะแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยนวัตกรรม และการตลาดสมัยใหม่ พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม ซึ่งกิจกรรมทุกขั้นตอนเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อพัฒนาผลิตใหม่IMG_2962 IMG_2966 IMG_2967 IMG_2971 โดยผลสำเร็จในการดำเนินโครงการ คือ การพัฒนาผู้ประกอบการเบื้องต้น 500 กิจการ และยกระดับผลิตภัณฑ์ ด้วยนวัตกรรม 150 ผลิตภัณฑ์ สำหรับแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของ 2 หน่วยร่วม คือ สถาบันอาหาร และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ หลอมรวมองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาผลิตใหม่IMG_2974 IMG_2975 IMG_2976 IMG_2981   โดยให้ผู้ประกอบการนำวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติ วัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น และมีการพัฒนานวัตกรรมที่โดดเด่น เช่น 1) การนำความรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เช่น การถนอมอาหารใช้มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น พกพาสะดวก และง่ายต่อการรับประทาน เช่น ขนมเทียน และขนมจีนน้ำยาใต้ พร้อมรับประทาน พร้อมปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมทั้งด้านการเก็บรักษาคุณภาพสินค้า 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพตามทิศทางของตลาดที่กำลังเติบโต เช่น การเพิ่มสารอาหารที่สำคัญ เช่น อาหารเด็กสูตร SYNBIOTIC น้ำผักเชียงดาเข้มข้นแบบหยด กระโจมสมุนไพรย้อมสีธรรมชาติ กางเกงยีนส์สำหรับผู้สูงวัย และผ้ารัดเข่าบรรเทาอาการเจ็บปวด IMG_2984 IMG_2987 IMG_2988 IMG_2994 IMG_29973) การพัฒนาคุณสมบัติพิเศษ (Smart Function) เช่น คุณสมบัติการลามไฟ คุณสมบัติสะท้อนน้ำ และคุณสมบัติการเก็บกักความชื้น พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ เช่น พรมปูพื้น วอลเปเปอร์ 4) การนำวัสดุจากธรรมชาติ (Smart Material) เช่น เส้นใยกก เส้นใยไผ่ เส้นใยมะพร้าว พัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและของใช้ เช่น รองเท้าผ้าทอไทลื้อจากเส้นใยกล้วย เส้นใยไผ่จานใส่ผลไม้ และเซรามิกIMG_2999 IMG_3000 IMG_3001 IMG_3003 IMG_3006 IMG_3007 5) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษของเหลือในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนและการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Smart Eco-design) เช่น ดินจอมปลวกซึ่งเป็นดินที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์นำมาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา น้ำพริกสับปะรดกรอบ ทำจากเศษสับปะรดที่แตกหักจากสับปะรดทอด และเศษข้าวแตน เอามาทำ สแน็คบาร์IMG_3008IMG_3023 IMG_3022IMG_3025IMG_3026IMG_3027 ภายในงานวันนี้ นำผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการมาจัดแสดงและจำหน่ายกว่า 30 แบรนด์ ณ ลานโปรโมชั่น 2 และ 2.3 ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ช๊อปสินค้า ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2563

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »