วศ.อว. จับมือ กรมวิชาการเกษตร ร่วมมือดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบยางแท่ง STR ให้เป็นไปตาม ISO/IEC 17025 ระยะที่ 3

?วศ.อว. จับมือ กรมวิชาการเกษตร ร่วมมือดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบยางแท่ง STR  ให้เป็นไปตาม ISO/IEC 17025 ระยะที่ 3
www.Thainewsvision.com1653520310539

      เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบยางแท่งของประเทศในการทดสอบคุณภาพยางแท่งเอสทีอาร์ (STR) ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 ระยะที่ 3 โดยมี ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) และนางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นผู้ลงนาม โดยมีคณะผู้บริหารทั้ง 2 หน่วยงาน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ1653520314170      ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า วศ. มีบทบาทสำคัญในการบริการด้านวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบ ส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาห้องปฏิบัติการ ซึ่งความร่วมมือภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการของประเทศในการทดสอบคุณภาพยางแท่งเอสทีอาร์ (STR) ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 ได้ดำเนินการมาแล้ว 2 ระยะ และครั้งนี้เป็นระยะที่ 3 ซึ่ง วศ. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางไทย สามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการด้านยางไทย ให้มีความทัดเทียบมและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล 1653520311828  ด้าน นางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิทยาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันการส่งออกยางใกล้เคียงกับหลายประเทศ รวมทั้งคุณภาพยางของไทยมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยมาตรฐานยางแท่งไทย (Standard Thai Rubber ; STR) ได้มีการประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 25481653520313005 โดยกำหนดมาตรฐานไว้จำนวน 8 ชั้น ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวกรมวิชาการเกษตรได้มีการพัฒนาและปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์การค้าขายในตลาด ทั้งในส่วนของห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพสินค้ายาง ระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 1702516535203137541653520313355 การอบรมด้านสอบเทียบและดูแลรักษาเครื่องมือวัด รวมถึงการวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับมาตรฐานยาง ดังนั้น การทำข้อตกลงความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงาน จะทำให้กรมวิชาการเกษตรได้รับประโยชน์หลายประการ16535203122061653520312653เพื่อนำไปสู่การพัฒนา ยกระดับคุณภาพสินค้ายางของประเทศ และพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบยางให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าการส่งออก จะช่วยสนับสนุนการใช้ยางพาราภายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »