วช สนับสนุนการจัดบรรยายพิเศษว่าด้วยเรื่อง “การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่คาดการณ์การไหลของน้ำเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น”
วช สนับสนุนการจัดบรรยายพิเศษว่าด้วยเรื่อง “การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่คาดการณ์การไหลของน้ำเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น”
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย แผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย จัดการบรรยายพิเศษออนไลน์ เรื่อง การพัฒนาการบริหารจัดการน้ำและชลประทานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Modernization of Irrigation/Water Basin Management via new technology) โดยมีการบรรยายเรื่อง การปรับปรุงการบริหารเขื่อนอุบลรัตน์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดย คุณวันเพ็ญ แกมทองแดง หัวหน้ากองจัดการทรัพยากรน้ำ กฟผ. ได้นำเสนอผลการพัฒนาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบจำลองเสริมด้วยเทคนิค AI (ภายใต้ EGAT-WIC) เพื่อใช้คาดการณ์น้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยใช้ข้อมูลปริมาณไหลเข้าเขื่อนและปริมาณฝนจริง ร่วมกับฝนทำลายล่วงหน้า
คุณวันเพ็ญ แกมทองแดง กล่าวว่า การคาดการณ์น้ำไหลโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จะทำให้สามารถทำนายน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ 1 ถึง 7 วันล่วงหน้า ได้ถูกต้องมากขึ้น 7% และสามารถวางแผนการปล่อยน้ำในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อควบคุมระดับน้ำในเขื่อน ตลอดจน ลดผลกระทบต่อสภาพน้ำท่วมในพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนและเหนือเขื่อนอย่างสมดุล การพัฒนานี้ ทำให้การปล่อยน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สามารถลดปริมาณน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ลงได้กว่า 23 ล้าน ลบ.ม./วัน (เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนพอ ๆ กัน) ซึ่งเป็นการลดภาวะน้ำท่วมในปีนี้และเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำสำหรับหน้าแล้งปีหน้าสำหรับพื้นที่ท้ายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ได้
ขณะนี้ทาง กฟผ. ได้เข้าร่วมงานวิจัยกับแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารน้ำ วช. ในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในการบริหารเขื่อนภูมิพล สิริกิตต์ แควน้อย และป่าสัก ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการ นอกจากการใช้เทคนิคในการทำนายปริมาณน้ำไหลเข้าแล้ว ยังได้เพิ่มเทคนิคการพัฒนาการประมาณความต้องการน้ำจากข้อมูลดาวเทียม การประเมินน้ำท่าในพื้นที่ การหาศักยภาพน้ำใต้ดิน เพื่อประกอบการตัดสินใจการปล่อยน้ำจากเขื่อนหลัก และ เพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนในหน้าฝนไว้ใช้ในหน้าแล้งปีต่อไป โดยลดปริมาณการปล่อยน้ำในหน้าฝน เพื่อลดภาวะน้ำท่วม อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารเขื่อนได้ในอนาคต