วช.ร่วมกับช่วยเหลือชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่ได้รับผลกระทบปัญหาขาดทุน ผลผลิตราคาตกต่ำ
วช.ร่วมกับช่วยเหลือชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่ได้รับผลกระทบปัญหาขาดทุน ผลผลิตราคาตกต่ำ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สนับสนุน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และบริษัท เมอส์ก ไลน์ (ไทยแลนด์) จำกัด ช่วยเหลือชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่ได้รับผลกระทบปัญหาขาดทุน ผลผลิตราคาตกต่ำ เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถส่งออกมะม่วงทางเครื่องบินได้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ราคาขายภายในประเทศต่ำกว่ากิโลกรัมละ 20 บาท จากราคาปกติกิโลกรัมละ 50 – 60 บาท ส่งผลให้เกษตรกรเดือดร้อนประสบปัญหาขาดทุนอย่างมาก โดยทางทีมวิจัยได้เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการส่งออกทางเรือไปยังญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วยตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมบรรยากาศทางเรือเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการส่งออก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กำแพงแสน) และบริษัท เมอส์ก ไลน์ (ไทยแลนด์) จำกัดโดยเทคนิคการควบคุมบรรยากาศเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ ได้แก่ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สออกซิเจน และแก๊สไนโตรเจน เพื่อชะลอการสุกแก่ โดยมีสัดส่วนแก๊สที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดผลผลิต และระยะเวลาขนส่ง เริ่มต้นจากคัดเลือกผลผลิตจากจากสวนที่ได้มาตรฐาน GAP ผ่านการคัดบรรจุที่ถูกต้องเหมาะสม และผ่านการวิธีการกักกันพืชด้วยการอบไอน้ำเพื่อกำจัดไข่แมลงวันผลไม้ก่อนส่งออก ก่อนจัดเรียงเข้าตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมสภาพบรรยากาศ จากการทดลองพบว่า การส่งออกทางเรือไปยังญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วยตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมบรรยากาศทางเรือในสัดส่วนออกซิเจน 3 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์ 5 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสมสำหรับการส่งออกมากที่สุด มีระยะเวลาการขนส่งทั้งหมดจนถึงประเทศญี่ปุ่น 15 วัน ชะลอการสุกแก่ได้ดี ลดการเกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยวได้ถึง 17.01% ผลมีสภาพสดสีเหลืองสวยงามพร้อมจำหน่าย และยังสามารถสุกได้ปกติ รสชาติดี เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค มีอายุการเก็บรักษาเมื่อไปถึงปลายทางอีก 10 วัน ที่ 25 – 27 องศาเซลเซียส รวมทั้งหมดมีอายุเก็บรักษาได้ถึง 25 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมอุณหภูมิปกติ