วช. นำนักประดิษฐ์และนักวิจัย สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย กวาด 20 รางวัล งานประกวดนวัตกรรมที่สาธารณรัฐโปแลนด์
วช. นำนักประดิษฐ์และนักวิจัย สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย
กวาด 20 รางวัล งานประกวดนวัตกรรมที่สาธารณรัฐโปแลนด์
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยจาก 8 หน่วยงานคว้ารางวัลใหญ่ระดับนานาชาติจากงาน “E-NNOVATE 2021 Edition : International Innovation Show” ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22 – 24 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา
ณ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยจัดแสดงนิทรรศการในรูปแบบออนไลน์
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า ภารกิจที่สำคัญประการหนึ่ง
ของ วช. ในการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ คือการสนับสนุนให้นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยเข้าสู่เวทีนานาชาติในระดับโลก ในเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา วช.ได้นำนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทย เข้าร่วมการประกวดและจัดแสดงผลงานในเวทีนานาชาติ งาน “E-NNOVATE 2021 Edition : International Innovation Show”ในรูปแบบออนไลน์ จนนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย คว้ารางวัลเหรียญทอง มาครองถึง 11 เหรียญ ได้แก่
เครื่องวิเคราะห์ชนิดของแอลกฮอล์อย่างง่าย พร้อมชุดแสดงผลผ่านอุปกรณ์ควบคุม Internet of Things (lot) แสดงผลบนสมาร์ทโฟน ของ นางสาวจิราพร ช่อมณี แห่ง มหาวิทยาลัยทักษิณ, แอปพลิเคชันสุขภาพโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือน (AR) บำบัดอาการออฟฟิศซินโดรมและปวดศีรษะด้วยการแพทย์แผนไทยแบบราชสำนัก ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชุดาณัฏฐ์ สุดทองคง แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, นวัตกรรมชุดตรวจ LAMP-PACHA สำหรับคัดแยกมะละกอดัดแปลงพันธุกรรมในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร การพัฒนาชุดตรวจคัดแยกมะละกอปลอด GM ในระยะต้นกล้าและผลเพื่ออุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ของ ดร.ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์ แห่ง สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน), การใช้ประโยชน์จากเถ้าแกลบในการผลิตคอนกรีตบล็อกแบบไม่รับน้ำหนัก ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา สมนา แห่ง สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน), ReLeep – A New Lifestyle Technology ของ เด็กชายณภคพล พิทักษ์ธีระธรรมแห่ง ชมรมเยาวชนนักประดิษฐ์ไทย, ปากกาต่อต้านโรคระบาด ของ เด็กชายรณภัทร ศรีวรวิไล แห่ง โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, FunPlosion – ระบบห้องน้ำอัจฉริยะระเบิดความสนุกสำหรับชีวิตวิถีใหม่ ของ เด็กหญิงปราณรัก บ่ายคล้อย แห่ง โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, คิดส์เพลิน
ของ เด็กชายธิปก ตั้งศิริพัฒน์ แห่ง โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, ชุดอุปกรณ์ช่วยออกกำลังกายในผู้ป่วยติดเตียง ของ เด็กชายธิปก ตั้งศิริพัฒน์ แห่ง โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม,ชุดหมอนลดการนอนกรนเพื่อปรับสมดุลให้การนอนหลับมีคุณภาพและปลอดภัยที่สุด ของ นางสาวจ้าวไหมตั้งศิริพัฒน์ แห่ง โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, และโปรแกรมฝึกคลื่นสมองด้วยเทคนิคสะท้อนกลับ ป้องกันสมองเสื่อมและลดปัญหาความรุนแรงจากสมาธิสั้น ของ เด็กชายกร เหมรัญช์โรจน์
สำหรับงาน “E-NNOVATE 2021 Edition : International Innovation Show” ในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 จัดโดย Innovative Business Solutions (IBS) หน่วยงานเอกชนด้านการส่งเสริมนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์
แห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ มีผู้ส่งสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมดกว่า 195 ผลงาน จาก 16 ประเทศ ทั่วโลก