“ดร.สุวิทย์ รัฐมนตรี อว. ซักซ้อมโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์และนักวิจัยไทย พร้อมสู้สถานการณ์ไวรัสโคโรนา”
“ดร.สุวิทย์ รัฐมนตรี อว. ซักซ้อมโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์และนักวิจัยไทย พร้อมสู้สถานการณ์ไวรัสโคโรนา”
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) ได้หารือร่วมกับคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์จาก ทั่วประเทศ กว่า 20 หน่วยงาน เพื่อซักซ้อม เตรียมการและสร้างความมั่นใจในความพร้อมของบุคลากรทาง การแพทย์ การดูแลผู้ป่วย ตลอดจนเครื่องมือ อุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลภายในสังกัดกระทรวง อว. ให้สามารถบริการ ดูแลประชาชน ตรวจวินิจฉัยและรองรับผู้ป่วยได้อย่างเพียงพอ
ทั้งนี้ได้มีการประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพร้อมปฏิบัติตามทุกมาตรการที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการประชุมสืบเนื่องจากการ ประชุมเตรียมการครั้งแรก เมื่อ 28 ม.ค. 2563 ที่ได้หารือร่วมกับนักวิชาการและผู้แทนกรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทีมวิจัยและระบาดวิทยา ระดมสมองการนำองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยมาใช้ในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา รวมทั้งกำหนดมาตรการและแนวทางการดูแนักศึกษา ไทยในประเทศจีน และนักศึกษาจีนที่มาศึกษาต่อในประเทศไทย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยต่างๆ ในความดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ มีคณะแพทยศาสตร์ จำนวน 23 แห่ง
ซึ่งโรงพยาบาลมีจำนวนกว่า 14,475 เตียง และมีแพทย์พยาบาลที่มีประสบการณ์ มากกว่า 23,758 คน พร้อมรับ สถานการณ์ไวรัสโคโรนาดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ยังได้มอบหมายให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ หลักในการดำเนินการด้านการวิจัยและวิชาการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยจะดำเนินการใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องโดยเครือข่ายนักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัย ทั่วประเทศ การจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการวิจัยและวิชาการเพื่อเชื่อมโยงการดำเนินงานของศูนย์ ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งการ ขับเคลื่อนให้เกิดการวิจัยเชิงรุกเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาของประเทศ
ทั้งนี้ วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยพิเศษและเร่งด่วน ในประเด็นเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แล้วตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. 2563 ตลอดจนได้จัดประชุม “รวมพลคนวิจัย นักวิจัยไทยพร้อมสู้ภัยไวรัสโคโรนา” ไปเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมา มีนักวิจัยเข้าร่วมจำนวนมาก เพื่อรวบรวม สรรพกำลังด้านการวิจัยรวมทั้งประเด็นวิจัยเร่งด่วนที่เห็นควรดำเนินการโดยเร็ว การบูรณาการการทำงานอย่างเร่งด่วนของหน่วยงานทั้งในกระทรวง อว. และนอกกระทรวงจะสามารถ สร้างความเชื่อมั่นได้ว่าประเทศไทยพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกกรณีได้อย่างแน่นอน