จับตาเวทีถกสัมปทานน้ำมัน รอบที่ 21 ปลดล็อก หรือยิ่งไร้ทางออก
จับตาเวทีถกสัมปทานน้ำมัน รอบที่ 21 ปลดล็อก หรือยิ่งไร้ทางออก
จับตาเวทีกลาง พูดคุยหาทางออกในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในวันนี้ (20 ก.พ. 58) ที่ตึกสันติไมตรีทำเนียบรัฐบาล โดยฝ่ายรัฐ ซึ่งต้องการเปิดสัมปทานฯ กับฝ่ายคัดค้าน ประกอบด้วยเครือข่ายภาคประชาชน ส่งตัวแทนฝั่งละ 4 คน ขึ้นแสดงความเห็น
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รับหน้าที่ได้ โดยภายในห้องประชุมหารือนั้น จัดเตรียมที่นั่งไว้ 300 ที่ พร้อมถ่ายทอดผ่านกล้องวงจรปิดไปศูนย์บริการประชาชน สำนักงานก.พ. และถ่ายทอดสดผ่านทางช่อง 11 ไปทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่เก้าโมงตรง เป็นต้นไป “รัฐบาลเชิญทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพลังงานในฐานะเจ้าของเรื่อง ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย นักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมหารือกว่าร้อยคน
สำหรับตัวแทนแต่ละฝ่าย เบื้องต้นมีกระแสข่าวว่า ตัวแทนในส่วนภาครัฐและกระทรวงพลังงาน น่าจะประกอบด้วย นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน, นายมนูญ ศิริวรรณ สปช. ด้านพลังงาน รวมถึงนายบรรยง พงษ์พานิช คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ส่วนภาคประชาชน หรือฝ่ายคัดค้าน ซึ่งมีจุดประสงค์หลักหวังให้รัฐบาลทำการสำรวจน้ำมันก่อนเปิดสัมปทานฯ รอบที่ 21 คือ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล, ม.ล.กรณ์กสิวัฒน์ เกษมศรี, น.ส.รสนา โตสิตระกูล และ นายนพ สัตยาศัยหากมีเวทีหารือในวันที่ 20 ก.พ. นี้ จะมุ่งเน้นไปที่เนื้อหาประเด็นการแก้ไขร่างกฎหมายใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เป็นหลัก เนื่องจากมองว่ากฎหมายที่ดีควรมีการเปิดกว้าง เพราะปัจจุบันระบบสัมปทานเป็นระบบที่ปิดตาย และเอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการมากจนเกินไป ม.ล.กรกสิวัฒน์ บอกผ่านสื่อเอเอสทีวี ผู้จัดการ ทั้งนี้การเปิดสัมปทานฯ รอบที่ 21 จะเป็นการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม 29 แปลง แบ่งเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 แปลง ที่เหลือเป็นแปลงบนบกและในทะเล 6 แปลงเท่ากันปกติการสำรวจสัมปทานปิโตรเลียมใช้เวลาถึง 9 ปี ดังนั้นไม่เห็นความจำเป็นที่กระทรวงพลังงานจะต้องรีบเร่งเปิดสัมปทาน โดยไม่รอรัฐธรรมนูญ หรือ รอการปฏิรูปพลังงานให้เสร็จก่อน
อย่างไรก็ตาม มีเสียงจากทางนายกรัฐมนตรีแว่วดังออกมาแล้วว่า ถึงที่สุดในวันที่ 16 เดือนมี.ค.นี้ ไม่ว่าจะหารือได้ข้อยุติหรือไม่ การเปิดสัมปทานฯ ย่อมต้องเดินหน้าต่อไป และคนที่ทำให้เกิดวิกฤตพลังงานขาดแคลนในภายหน้าก็ต้องรับผิดชอบ