จังหวัดสมุทรปราการเปิดโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOPนวัตวิถีเสริมรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน
จังหวัดสมุทรปราการเปิดโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOPนวัตวิถีเสริมรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน
www.Thainewsvision.com
นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการเป็นประธานเปิดโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีจังหวัดสมุทรปราการที่ห้องประชุมเทศบาลนครสมุทรปราการอำเภอเมืองสมุทรปราการโดยมีนายฐากูรชวนะพงศ์นายอำเภอเมืองสมุทรปราการหัวหน้าส่วนราชการและผู้ประกอบการสินค้า OTOP ในเขตพื้นที่นำร่อง 3 หมู่บ้านในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการและผู้ประกอบการจากพื้นที่อำเภอต่าง ๆ รวม 140 คนเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว
สำหรับโครงการดังกล่าว สืบเนื่องมาจากรัฐบาลมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งเน้นสร้างรายได้และความเจริญ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกับภาครัฐเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคงมั่นคั่งยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินการร่วมกับการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ที่เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2544
แต่การพัฒนา OTOP ที่ผ่านมามุ่งเป็นการพัฒนาสู่การค้าแบบสากลทำให้ผลิตภัณฑ์ของคนส่วนใหญ่ไม่สามารถแข่งขันได้ ต้องออกไปขายสินค้าตามที่ต่างๆรายได้อยู่กับผู้ประกอบการคนเดียวหรือบางกลุ่มทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากไม่ประสบผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควรกอปรกับรายได้จากการท่องเที่ยวที่เป็นกระแสหลักของประเทศส่วนใหญ่ตกไปอยู่ในกลุ่มทุนเอกชนเช่นโรงแรมร้านอาหารห้างร้านใหญ่ๆกรุ๊ปทัวร์ไม่ลงไปถึงฐานรากจึงมีการเปลี่ยนผ่านยุคการผลักดันขายสินค้า OTOP นอกชุมชนสู่การขายสินค้าอยู่ในชุมชนที่มาจากการท่องเที่ยวโดยใช้เสน่ห์ภูมิปัญญาวิถีชีวิตวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์แปลงรายได้มีการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่ซึ่งรายได้จะกระจายอยู่กับคนในชุมชนทุกคนมีความสุขเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างมากทั้งด้านประวัติศาสตร์ศิลปะวัฒนธรรมประเพณีภูมิประเทศติดแม่น้ำและทะเลอาหารการกินหลากหลายและรสชาติอร่อยรวมถึงผลิตภัณฑ์ OTOP ที่หลากหลายและมีความโดดเด่นเป็นที่รู้จักและต้องการของคนจำนวนมากการคมนาคมสะดวก
ดังนั้นการดำเนินงานโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีจังหวัดสมุทรปราการจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะจะสามารถช่วยให้คนในชุมชนมีงานมีรายได้อย่างทั่วถึงผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาสามารถสร้างมูลค่าและรายได้ที่สำคัญคนในชุมชนไม่ต้องออกไปทำงานนอกชุมชนครอบครัวอยู่พร้อมหน้าอบอุ่นมีความสุขชุมชนเข้มแข็งและเศรษฐกิจชุมชนดีขึ้นโดยมีการนำร่องใน 3 หมู่บ้านและจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดสมุทรปราการต่อไป