คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดอบรม 2 หลักสูตร DATA+AI Powered Communication 2022 ฟรี! ผู้เชียวชาญด้านปัญญาประดิษย์ชี้ นิเทศต้องใช้ AI ตอบโจทย์โฆษณาประชาสัมพันธ์
คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดอบรม 2 หลักสูตร DATA+AI Powered Communication 2022 ฟรี! ผู้เชียวชาญด้านปัญญาประดิษย์ชี้ นิเทศต้องใช้ AI ตอบโจทย์โฆษณาประชาสัมพันธ์วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ศูนย์สร้างสรรค์และนวัตกรรมทางนิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รวมถึงหน่วยงานภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย 1. สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย 2. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 3. สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย 4. สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) 5. บริษัท เชคสเฟียร์ จำกัด (SoldOutt)เปิดงานโครงการอบรมหลักสูตร “DATA+AI Powered Communication 2022” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรที่ 1 “Practical DATA+AI Skills for Next Normal Era” 9 ห้องเรียน 3 วัน ระหว่างวันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2564 ทั้งภาคทฤษฎีพร้อมฝึกปฏิบัติ 20 วิทยากร และหลักสูตรที่ 2 “DATA+AI for Marketing Communication for Next Normal Era” 8 ห้องเรียน 8 วัน ระหว่างวันที่ 9-30 พฤศจิกายน 2564 ทั้งภาคทฤษฎีพร้อมฝึกปฏิบัติ 15 วิทยากร ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM Webinarโดยวันที่ 2 พฤศจิกายน เป็นวันแรกของการจัดโครงการอบรมหลักสูตรที่ 1 “Practical DATA+AI Skills for Next Normal Era” ประกอบด้วย ห้องเรียน 3 ห้อง มีหัวข้อแตกต่างกัน ดังนี้ ห้องที่ 1 Inspired Data + AI Applications ห้องที่ 2 Chatbot & Voicebot และห้องที่ 3 Data+AI for Business Opportunities
รศ.ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวเปิดงานว่า วัตถุประสงค์การจัดอบรมครั้งนี้ ศูนย์สร้างสรรค์และนวัตกรรม ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมศักยภาพของบุคลากร รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของสังคม เพื่อคนไทยจะมีความรู้ และความพร้อมในการก้าวเข้าสู่สังคมที่นำด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
นำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ดังกล่าวไปสู่สาธารณชนในวงกว้างและขับเคลื่อนให้ผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน หรือ กำลังจะเข้าสู่วัยทำงาน ผู้ประกอบการ ภาครัฐ เอกชน SME บุคลากรแรงงานในองค์กรต่าง ๆ สามารถมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะพื้นฐานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Re-skill/ Up-skill) อีกทั้งยังมีส่วนก่อให้เกิดการรู้เท่าทันสื่อ AI และบริบทการสื่อสารที่ส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรสนับสนุนการพัฒนาประเทศ เป็นการเพิ่มพูนความรู้ทักษะเชิงลึกด้านดิจิทัลให้กับนักนิเทศศาสตร์ ที่จะต้องมีความเข้าใจในการใช้ข้อมูล (Data) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันนี้
ทั้งนี้ ก่อนเริ่มการอบรม มีการจัดเสวนา ในหัวข้อ อนาคตนิเทศปัญญาประดิษฐ์ “Future Landscape of Data + AI in Communication” โดยวิทยากรแต่ละท่าน แสดงความเห็นเกี่ยวกับหลักการนำ Data + AI มาใช้ประโยชน์ในนวัตกรรมการสื่อสาร การใช้ Data + AI บูรณาการร่วมกับหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ร่วมทั้งแนวทางการใช้ Data และ AI พัฒนาประเทศแต่ละด้านในอนาคตรศ.ดร. คมกฤต เล็กสกุล ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ เราใช้ AI ในการพัฒนาเครื่องจักรต่าง ๆ แต่ ณ ปัจจุบัน AI มีบทบาทในระบบฐานข้อมูลจำนวนมหาศาล เช่น ฐานข้อมูลงานวิจัยประเทศ มีข้อมูลเรื่องของการนำเข้างานวิจัย เราจะทำอย่างไรในการใช้ฐานข้อมูลให้เป็นประโยชน์ Data และ AI ต้องไปพร้อมกัน
ส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่ประเทศของเราควรจะเริ่มทำได้แล้ว คือ รวมฐานข้อมูลด้านสุขภาพให้เป็นภาพรวมของประเทศ เช่น เวลาเราไปพบแพทย์ในโรงพยาบาล แพทย์ยังต้องถามเราก่อนว่า แพ้ยาอะไร โรคประจำตัวอะไร ในขณะที่เวลาที่เราไปเที่ยวต่างประเทศ ทำไมแพทย์ทราบข้อมูลเราได้ทันที ซึ่งบ้านเราอาจจะต้องทลายมิตินี้ ในการแชร์ข้อมูลเหล่านี้ร่วมกันหรือ ยกตัวอย่างเวลาที่เราดู Netflix ก็มีหนังปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกได้เลย นั่นคือ การใช้ประโยชน์ Data และ AI หรือ อย่างการส่งออกลำไย บ้านเราเป็นการขายผ่าน เราไม่อาจรู้ได้เลยว่า ส่งออกลำไยไปประเทศจีนวันนี้ พรุ่งนี้เราจะได้ราคาเท่าไหร่ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเร่งสารลำไย ออกผลผลิตนอกฤดู และเกษตรกรส่งออกพร้อมกัน ทำให้เกิดปัญหาล้นตลาด เพราะเกษตรกรไม่มีการฐานข้อมูลที่จะแชร์ร่วมกันดังนั้น หากเรามีการแชร์ Data มีการนำ AI ไปใช้ประโยชน์ มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การจัดการคน จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยสอดคล้องกับการยกระดับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ตามแผนพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ ระยะ 7 ปี (2564-2570) 3 ข้อ คือ 1.การสร้างคนและเทคโนโลยี 2. การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ 3.การสร้างผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม มีกลุ่มเป้าหมาย อาทิ การเกษตร อาหาร การแพทย์ สุขภาวะด้านการศึกษา เป็นต้น
รศ.ดร. ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ ภาครัฐ (GBDi) สังกัดสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ระบุถึงการใช้ Data ไปใช้ในวงการนิเทศศาสตร์ นักนิเทศศาสตร์อาจต้องเข้ามาเรียนรู้เรื่อง Data ประกอบด้วย 1.คนที่ทำเรื่อง Marketing เพราะตอนนี้ Digital Marketing มาแรง 2. คนที่ทำ PR เพราะตอนนี้ PR จะออกทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งนักนิเทศศาสตร์ต้องมาเรียนรู้เกี่ยวกับ IT ในระดับหนึ่ง
คุณจะเห็นได้ว่าบริษัทที่เข้ามารับงาน ถ้าเป็นสายด้าน Marketing PR บางครั้งเป็นบริษัท IT เลย เขาจะไม่เข้าใจประชาชนเท่านักนิเทศศาสตร์ แต่หากเป็นนักนิเทศศาสตร์ล้วน ๆ ก็จะไม่เข้าใจในการทำเรื่อง IT มากนัก ดังนั้น ทั้งสองส่วนนี้ จึงต้องทำควบคู่กันไปสมัยก่อนเวลาเรียนหลักสูตรนิเทศศาสตร์ จะแยกตามสาขาปกติ เช่น บิลบอร์ด วิทยุ โทรทัศน์ แต่เดี๋ยวนี้ บิลบอร์ด แทบจะไม่มีแล้ว เหตุผลเพราะคนรุ่นใหม่ ดูหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น คนที่ทำโฆษณาต้องยิงกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ เข้าไปถึงให้ถึงคนกลุ่มนี้ให้ได้
ยกตัวอย่างผู้ประกอบการจำหน่ายกล้อง เวลาที่นักศึกษาจะซื้อกล้อง ก็จะค้นหาข้อมูลผ่าน Google เราจะทำอย่างไร ให้เขาค้นหาแล้วเจอเรา จึงทำให้ต้องศึกษาการทำงานของว่า Google เพิ่มเติม จากนั้นต้องหาวิธีลง Keyword เพื่อให้เขาค้นหาแล้วเจอเราก่อน เป็นต้น
หากไม่ได้ศึกษาขั้นตอนการทำ Marketing PR เลย เงินที่ลงโฆษณาก็จะสูญเปล่า อีกส่วนหนึ่ง คือ เรื่อง PR เช่น ตอนนี้รัฐบาลมีปัญหาเรื่อง Fake News ประชาชนแชร์ต่อ ๆ กันเยอะ แม้รัฐบาลจะชี้แจงข้อเท็จจริง และแก้ข่าว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ข่าวที่ถูกแก้กลับไม่ถูกแชร์ต่อ แต่ Fake News ยังถูกแชร์อยู่
ส่วนหนึ่งเกิดจากการสื่อสารไม่ได้ใช้เทคโนโลยีมากพอ เช่น ไม่ได้เลือกกลุ่มเป้าหมาย ส่งผ่านข้อมูลด้านไหน คอนเทนต์ที่จะแก้ ตรงกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ ถามว่าสามารถใช้บริษัท IT มาทำได้ไหม ก็สามารถทำได้ในส่วนเฉพาะเทคโนโลยี แต่คำถามคือ แล้วใครจะควบคุมธีมเนื้อหาดังนั้น จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยี AI ต้องถูกนำมาใช้เยอะพอสมควร ในโลกของการทำโฆษณาและ PR ในปัจจุบัน ซึ่งหากจะถามว่าภาครัฐจะพัฒนาคนให้เก่งด้าน AI ได้อย่างไร ก็ต้องดูเรื่องงบประมาณและกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน
ดร.กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร นายกสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนำ Data และ AI มาใช้พัฒนาธุรกิจ โดยยกตัวอย่างความแตกต่างระหว่างการนำซอฟต์แวร์ และ AI ซึ่งถ้าเราเขียนซอฟต์แวร์ครั้งเดียว พอมีคนมา ก็ถือว่าฟรีเลย เพราะเรา Copy แล้วขายไป การ Per Unit จะเท่ากับ 0
แต่หากลงทุน AI แล้วเรายิ่งให้คนซื้อเยอะ ๆ เรากลับได้มากขึ้น เพราะว่า พอคนใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ ข้อมูลที่เอามาใช้ในระบบ AI ของเรา มันจะยิ่งเก่งขึ้นเรื่อย ๆ หมายความว่า ยิ่งเราให้คนใช้เรื่อย ๆ ข้อมูลกลับมาที่เรา เราจะยิ่งได้กำไร เป็นตัวที่ทำให้ Value, service, product เติบโตแบบก้าวกระโดด
เพราะฉะนั้น พอเราใช้ Data และ AI ในธุรกิจของเรา จึงทำให้เราเหนือกว่าคู่แข่งทันที สามารถป้องกันให้คู่แข่งตามเราได้ยากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น รถไฟฟ้า แต่ก่อนเราใช้รถเติมน้ำมันมาตลอด พอเริ่มมีรถไฟฟ้าเข้ามา กลับประสบความสำเร็จ เพราะลงทุนมาก แต่ใช้ในระยะยาวได้มากกว่า
หรือ ร้านกาแฟแบรนด์ดังอย่าง AMAZON ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมี category สินค้าจำนวนมาก และมีระบบ AI รวมสินค้าไว้ให้ผู้คนเข้าไปเลือกซื้อได้อย่างถูกต้อง กล่าวคือ จับสินค้าที่ลูกค้าต้องการได้ดี หรือ อย่าง Facebook แทนที่จะส่งแค่รูป วิดีโอ คอนเทนต์ธรรมดา กลับกลายเป็นว่าสามารถจับได้ว่า ผู้ใช้งานอยู่ที่ไหน สามารถใช้ AI สร้างภาพเสมือนรอบตัวเราได้
หรือ ในอนาคต การใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนคน ในงานบางประเภทที่น่าเบื่อ หรือ เข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น โดยส่วนใหญ่เราจะพบอยู่ในต่างประเทศ ซึ่ง AI คือ ตัวชิปโมเมนตัมของตลาดเลย เกิดการสร้างงานมหาศาล จึงอยากแนะนำผู้ประกอบการให้เร่งเก็บ Data เช่น ร้านอาหาร ควรเก็บ Data ด้านยอดขาย
ลูกค้าซื้อสินค้าอะไรมากที่สุด เราควรขายสินค้า จัดโปรโมชันอย่างไร เพื่อกระตุ้นยอดขาย แม้แต่การติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อดูกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการ จะช่วยทำให้เราวางแผนเรื่องการโฆษณาได้ง่ายขึ้น ซึ่งการใช้ Data และ AI มาใช้ในธุรกิจจะช่วยให้ผู้ประกอบการทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นด้วยระบบอัตโนมัติ
รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) ระบุถึงนิเทศศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หลายด้าน ทั้งการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การถ่ายทำละคร ภาพยนตร์ นักข่าวที่ทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือสื่อภาคพลเมือง ซึ่งในยุคเดิม เราดูสื่อวิทยุ โทรทัศน์ แต่ในยุคใหม่ ทุกพื้นที่เป็นสื่อ เป็นแพลตฟอร์มในการสื่อสาร และเราสามารถใช้ Data ในการทำงาน การวิเคราะห์ผู้อ่าน ผู้ชมรายการ
ฉะนั้น คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เรามีหลักสูตรการจัดการการสื่อสารด้วยข้อมูล ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ในระดับปริญญาโท โดยเราเห็นความสำคัญตรงนี้มาก เราจะเห็นเลยว่า ด้าน Marketing เราใช้เยอะมาก โฆษณาประชาสัมพันธ์ การใช้Data ในการวิเคราะห์ customer journey, ใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่จะรายงานผลผ่าน การนำเสนอที่เรียกว่า Data Visualization ให้กับประชาชน กลุ่มเป้าหมายในสังคม
เช่น ตอนนี้น้ำท่วม หรือ เริ่มเปิดประเทศ นักท่องเที่ยวเข้ามาอย่างไร เราสามารถใช้ Data ในการตรวจสอบอย่างไรบ้าง นำเสนอข้อมูลให้กับสื่อในพื้นที่ ตรงนี้ คือ หัวใจของนิเทศศาสตร์ ดังนั้น นักนิเทศศาสตร์จึงต้องปรับตัว ใช้เครื่องมือ Tools ให้เป็น รวมถึงการใช้ Chatbot ในการเรียบเรียงภาษา การทำคำสนทนา Dialog ต่าง ๆ ทำอย่างไร การนำเสนอข่าวสารเชิงลึกพร้อมข้อมูลเพื่อให้สังคมเห็นว่า มีความเหลื่อมล้ำในการฉีดวัคซีนอยู่ตรงไหน ข้อมูลภาครัฐ Open Data หรือไม่ สิ่งเหล่านี้ ที่นักนิเทศศาสตร์ต้องเข้ามาเติมเต็มในการให้ความรู้แก่สังคมเพื่อเกิดประโยชน์ ให้สังคมมีคุณภาพ
มากกว่านั้น คือ ทักษะนักนิเทศศาสตร์ยุคใหม่ นอกจากจะคิดวิเคราะห์แล้ว ด้าน Creativity ก็สำคัญเราจะเห็นเลย หลายท่านพูดถึงเรื่องการเก็บข้อมูลของเรา ยกตัวอย่าง Lisa blackpink ใส่บิกินีลงอินสตราแกรมไม่นาน มียอดคนดู 10 ล้านวิวแล้ว เขาได้ข้อมูลหมดเลย สามารถที่จะไปวางแผนได้ ทำให้นึกถึงประเทศไทยเรา ว่าจะทำอย่างไรจึงจะสร้างมูลค่าเพิ่มแบบนี้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นักนิเทศศาสตร์จำเป็นต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพื่อให้สอดรับกับแพลตฟอร์ม กับการใช้สื่อของคน นี่คือสิ่งที่คิดว่านักนิเทศศาสตร์อย่างไรก็ต้องเข้ามาเติมเต็มในวงการ AI และ Data เพื่อจะพัฒนาทักษะบุคคลากรทางด้านนิเทศศาสตร์และด้าน SMEs และบุคลากรด้านอื่น ๆ
การออกแบบสาร ด้าน Creativity ต่าง ๆ เรามีความชำนาญ เราเข้าใจคน เราเข้าใจ Soft Skill เพราะฉะนั้น หน้าที่ของนักนิเทศศาสตร์ คือ เราจะทำอย่างไร ที่เราคุยกับมนุษย์และ AI แล้วรู้สึก Lifely
สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้ 2 หลักสูตรข้างต้นเพิ่มเติม สอบถามรายละเอียดที่หลักสูตรการจัดการการสื่อสารด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ (NIDA) ได้ทาง เพจ เด็กนิเทศ BIG DATA https://www.facebook.com/deknitadebigdata