กระทรวงพาณิชย์จัดงาน “หัตถศิลป์ ถิ่นแพรไหม” สะท้อนเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยวันที่ 12- 14 กรกฎาคม นี้ ณ ฮอลล์ 12 อิมแพค เมืองทองธานี …
กระทรวงพาณิชย์จัดงาน “หัตถศิลป์ ถิ่นแพรไหม” สะท้อนเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยวันที่ 12- 14 กรกฎาคม นี้ ณ ฮอลล์ 12 อิมแพค เมืองทองธานี …
www.Thainewsvision.com
ข่าว -ภาพ พาฝัน ปิ่นทอง
นางลลิดา จิวะนันทประวัติ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “จากการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินโครงการ “ยกระดับการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสู่แหล่งท่องเที่ยว” โดยได้เดินสายนำผู้เชี่ยวชาญแขนงต่างๆ เช่น ดีไซน์เนอร์ นักการตลาด ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสินค้า/บรรจุภัณฑ์ และภาพลักษณ์ตราสินค้า ฯลฯ ลงพื้นที่ร่วมให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อขยายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยให้มีความหลากหลายครอบคลุมความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ตามยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการผ้าไหมท้องถิ่น 3 ภูมิภาค ประกอบด้วย 1) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.อุดรธานี จ.กาฬสินธุ์ จ.ขอนแก่น2) ภาคใต้ ได้แก่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช และ 3) ภาคเหนือ ได้แก่ จ.แพร่ จ.ลำพูน จ.เชียงใหม่” สำหรับการจัดงาน “หัตถศิลป์ ถิ่นแพรไหม” ในส่วนกลาง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 14 กรกฎาคม 2562 ณ ฮอลล์ 12 อิมแพค เมืองทองธานีภายในงานฯ จะมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่ได้รับการพัฒนา และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมหลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วย เสื้อผ้าแฟชั่นดีไซน์ที่เหมาะกับผู้บริโภคทุกวัย เครื่องประดับ และของใช้ของตกแต่งบ้าน ฯลฯ โดยมีผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาจากกรมฯ เข้าร่วมจัดงานแสดงฯ ผู้เข้าชมงานจะได้ชื่นชมกับความงดงามของผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมแต่ละจังหวัด แต่ละภูมิภาค ซึ่งมีลวดลายที่สวยงาม มีโครงสร้างผ้าและลักษณะการออกแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวแตกต่างกันออกไป รวมถึง สามารถเป็นเจ้าของผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมภายในงานฯ ได้ในราคาสมเหตุสมผล มีความคุ้มค่าคุ้มราคา และสามารถนำไปเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านผ้าไหมแก่ลูกหลานในอนาคตได้อีกด้วย” “ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าขอเชิญชวนแฟนพันธุ์แท้ผ้าไหมไทย และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมงาน “หัตถศิลป์ถิ่นแพรไหม” ระหว่างวันที่ 12 – 14 กรกฎาคม นี้ ณ ฮอลล์ 12 อิมแพค เมืองทองธานี นอกจากจะได้อุดหนุนผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยสวยๆ จากผู้ประกอบการท้องถิ่นทั่วทุกภูมิภาคแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้อุตสาหกรรมผ้าไหมไทยมีความเข้มแข็ง เป็นการสืบสานอัตลักษณ์ผ้าไหมของแต่ละชุมชนให้คงอยู่คู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ทรงคุณค่าผ่านเส้นไหมและลวดลายที่งดงาม สมกับคำที่ว่า“ผ้าไหมไทยสะท้อนเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย” รองอธิบดีฯ กล่าวทิ้งท้าย