กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)เปิดเวทีบรรเลงเพลงยุคอยุธยาอายุ 335 ปี หน้าวัดพระราม จ.พระนครศรีอยุธยา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)เปิดเวทีบรรเลงเพลงยุคอยุธยาอายุ 335 ปี หน้าวัดพระราม จ.พระนครศรีอยุธยา
www.Thainewsvision.com
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดกิจกรรม “เสียงอดีตสร้างจินตนาการภาพโบราณ เล่นเพลงอยุธยาที่หน้าวัดพระราม” วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 16.30 – 18.00 น. หน้าวัดพระราม จ.พระนครศรีอยุธยา


โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน






















ส่วนการแสดงแบ่งเป็น 6 ชุดการแสดง ได้แก่ 1. การแสดงเพลงชุดโบราณ เพลงต้นวรเชษฐ์, เพลงสุดใจ, เพลงสายสมร ขับร้อง เพลงสุดใจ และ เพลงสายสมร โดย นาวสาวกมลพร หุ่นเจริญ 2. การแสดงเพลงชุดฝรั่ง เพลง ยินดีต้อนรับชาวสยาม (Entrée des Siamois), เพลงสำเนียงของชาวสยาม (e air siamois), เพลงฝรั่งยี่เฮ็ม, เพลงฝรั่งรำเท้า







สำหรับเพลงยินดีต้อนรับชาวสยาม และเพลงสำเนียงของชาวสยาม เป็นเพลงที่ ไมเคิล ริชาร์ด เดอลาลองด์ (Michel Richard Delalande) หัวหน้ากรมมหรสพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ประพันธ์เพื่อมอบเป็นที่ระลึกแก่ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) หัวหน้าคณะราชทูตสยามที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีที่ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2229 เนื่องจากประทับใจในอุปนิสัยราชทูตผู้มีอัธยาศัยไมตรี มีความสุภาพและมีความเฉลียวฉลาด ซึ่งกิจกรรมเล่นเพลงอยุธยาที่หน้าวัดพระรามได้บรรเลงเพลงเก่าที่ผ่านมา 335 ปีอีกครั้ง









ทั้งนี้ กิจกรรมเล่นเพลงอยุธยาที่หน้าวัดพระรามดังกล่าวเป็นผลจากการวิจัยใน “โครงการวิจัยพื้นที่ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน” และ “โครงการขยายผลต่อยอดนวัตธรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ” ที่ วช. ได้สนับสนุน “มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข” ซึ่งดำเนินการโดย รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข ในการวิจัยเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และกระตุ้นให้เกิดการเสริมสร้างสิ่งใหม่บนรากฐานสิ่งเก่า เพื่อรักษาเสถียรภาพและอัตลักษณ์ของสังคมไทยให้สืบทอดและคงอยู่ต่อไป








