กรมโรงงานอุตสาหกรรม ชี้จุดแข็งพื้นที่ กว่า 1 ล้านไร่ทั่วไทย พร้อมรับการลงทุนหลังโควิด-19

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ชี้จุดแข็งพื้นที่ กว่า 1 ล้านไร่ทั่วไทย พร้อมรับการลงทุนหลังโควิด-19
www.Thainewsvision.com
วิณิชชา ปิ่นทอง125101244_3273437722775213_7545452763368244526_n
นายวีรพงษ์ เอี่ยมเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม ได้ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ฟิกท์ แอสโซซิเอท จำกัด ในการศึกษาโครงการ “ด้านการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพIMG_6337 IMG_6347 IMG_6348 IMG_6349 IMG_6350
เพื่อรองรับการลงทุน” ประจำปี 2563 ในพื้นที่ 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นการศึกษาจุดแข็งและศักยภาพของพื้นที่ผ่านการเก็บข้อมูลในหลากหลายมิติ อาทิ
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านภูมิศาสตร์ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภค และแรงงาน ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System (GIS) วิเคราะห์ข้อมูลและความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่เชิงลึก IMG_6353 IMG_6355 IMG_6356 IMG_6357 IMG_6358 IMG_6359 IMG_6360 IMG_6361โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้กำหนดออกมาเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมของจังหวัดกลุ่มเป้าหมาย (จันทบุรี นนทบุรี และอ่างทอง) ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนั้นๆ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริงIMG_6368 IMG_6366 IMG_6365 IMG_6364 IMG_6363 IMG_6362IMG_6370 IMG_6371 IMG_6372 IMG_6373 IMG_6374 IMG_6375 IMG_6376
นายวีรพงษ์ กล่าวเพิ่มว่า ผลการศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ของแต่ละจังหวัดกลุ่มเป้าหมายในการประกอบอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ พบว่า จังหวัดจันทบุรี เป็นฐานการผลิตผลไม้และสินค้าเกษตร
หลักของประเทศ จากกลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีความเหมาะสม เป็นศูนย์กลางด้านอัญมณีดิบและฐานการเจียระไนเครื่องประดับระดับโลก มีศักยภาพในการเชื่อมโยงทางการค้าที่สำคัญทางทะเลและประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีความเหมาะสมกับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับโลจิสติกส์และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูปอัญมณีและเครื่องประดับ ด้านจังหวัดนนทบุรีIMG_6386 IMG_6385 IMG_6387 IMG_6390 IMG_6391 IMG_6384 IMG_6383
ถือเป็นพื้นที่เชื่อมต่อพื้นที่เศรษฐกิจหลัก มีระบบสาธารณูปโภคและการคมนาคมรองรับการขยายตัวของเมืองและการพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางตลาดค้าปลีกขนาดใหญ่ จึงเหมาะสมกับอุตสาหกรรมประเภทเกษตรและอาหารแปรรูปที่เป็นกระบวนการผลิตเพื่อนำไปสู่การจำหน่ายเป็นสินค้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์ อาทิ บริการโกดังจัดเก็บสินค้า และอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์พาหนะและอุปกรณ์ ในขณะที่จังหวัดอ่างทอง เป็นศูนย์กลางผลผลิตทางการเกษตรและตลาดปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคกลาง จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์ และมีเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงตามแนวภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคเหนือ จึงมีความเหมาะสมในการประกอบอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมบริการขนส่งและโลจิสติกส์IMG_6393 IMG_6394 IMG_6395 IMG_6396IMG_6398 IMG_6399 IMG_6400 IMG_6401 IMG_6405
สำหรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมในจังหวัดกลุ่มเป้าหมาย โดยจังหวัดจันทบุรี
โดยมียุทธศาสตร์ 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเขตประกอบการอุตสาหกรรม ระบบบริหารจัดการน้ำ และการขยายโครงข่ายสาธารณูปโภค เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ที่ 2 มุ่งพัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารแปรรูปของภาคตะวันออก โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารแปรรูป และกิจการบริการโลจิสติกส์ทันสมัย และยุทธศาสตร์ที่ 3 การสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปอัญมณีและเครื่องประดับมูลค่าเพิ่มสูง ด้านจังหวัดนนทบุรีได้กำหนด 3 ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเขตประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย IMG_6406 IMG_6407 IMG_6408 IMG_6409 IMG_6410 IMG_6411 IMG_6412ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารแปรรูป และกิจการบริการโลจิสติกส์ทันสมัย และยุทธศาสตร์ที่ 3 การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ และยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมในจังหวัดอ่างทอง 3 ประเด็น คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอาหารเชิงนวัตกรรมอย่างครบวงจร ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ และยุทธศาสตร์ที่ 3 ร่วมรณรงค์ด้านการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย นายวีรพงษ์ กล่าวสรุปIMG_6416 IMG_6417 IMG_6418 IMG_6419
ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยกองส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและพื้นที่อุตสาหกรรม มุ่งพัฒนาและยกระดับภาคอุตสาหกรรมในเชิงพื้นที่ ซึ่งได้ดำเนินโครงการส่งเสริมพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีความเหมาะสมกับศักยภาพชุมชน กว่า 1 ล้านไร่ ใน 47 จังหวัดทั่วประเทศไทยIMG_6424 IMG_6426 IMG_6425 IMG_6427 IMG_6428 เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม กระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านภาคอุตสาหกรรมที่เป็นกำลังหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ ที่มีความสมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติ และไม่ทำลายรากฐานวิถีชีวิตของชุมชน IMG_6431IMG_6432IMG_6433 IMG_6434อย่างไรก็ตาม การศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมและกำหนดอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม จะสามารถรองรับการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัด และนโยบายของรัฐบาล

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »